วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดนตรีแจ็ส Jazz

ประวัติความเป็นมาของแจ๊ส

ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชี่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อาฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro - American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา

อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรีมีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่สามารถอนุมานได้ว่าดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่าแหล่งอื่น ๆ ก็คือ การใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึงอยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น

ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับ ซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถม อัฟริกาตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง

ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีน หลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกา ก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ

เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน ีลีลาที่พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำนี้เรียกว่า " เพลงบูลส์ " (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพลงแจ๊ส

ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊สใน ยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน

พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส

นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง

ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสาน

สรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของ อเมริกันเองและดนตรีจากยุโรป จากแรกไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยมีกำเนิดที่เมืองนิวออร์ลีน แจ๊สยุคนี้เรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊ส คือ การบรรเลงแบบอิมโพรไวเซชั่น จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การ ประสานเสียง แปลก ๆ ทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นชัด แจ๊สมีการพัฒนาเรื่อยมาจากยุคแรกทำ ให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่างๆ

องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส (Elements of Jazz)

วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้

องค์ประกอบของดนตรีแจ๊สที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปเป็นองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส ในช่วง 1900 ถึง 1950 เนื่องจากดนตรีแจ๊สมีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายประเภท


สีสัน (Tone color)

ลักษณะโดยทั่วไปดนตรีแจ๊สเป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 3-8 คน ที่เรามักเรียกว่า " วงคอมโป " (Combo) หรือเรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) ซึ่งประกอบนักดนตรีประมาณ 10-15 คน โครงสร้างสำคัญของการบรรเลงคือกลุ่มเครื่องดำเนินจังหวะ (Rhythm section) ซึ่งเล่นจังหวะในลักษณะเดียวกับเบสโซ คอนตินิวโอ (Basso continuo) ในดนตรียุค บาโรค ในส่วนนี้มักบรรเลงด้วย เปียโน เบส และเครื่องตี บางครั้งอาจมี แบนโจ หรือกีตาร์ด้วย เครื่องดำเนินจังหวะเหล่านี้ช่วยทำให้การประสานเสียงน่าสนใจขึ้นด้วย ดนตรีแจ๊สยุคใหม่ผู้บรรเลงเครื่องทำจังหวะมักใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดเสียงเป็นลักษณะอื่น ๆ เช่น การเคาะไม้กลอง , การตีฉาบ , การใช้แส้ในการตีกลอง และการใช้มือทำให้เกิดเสียง

เครื่องดำเนินทำนองหรือเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเดียวที่แสดงความสามารถของผู้บรรเลง มักประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Wood winds) และเครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น คอร์เน็ต , ทรัมเป็ต , แซกโซโฟนทั้ง 4 ชนิด คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และบาริโทนแซกโซโฟน , คลาริเนท , ไวบราโฟน , ทรอมโบน และเปียโน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองยังสามารถใช้มิ้ว (Mute) ทำให้เกิดเสียงอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสีสันของเสียงต่าง ๆ ออกไปอีก แนวการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้ของผู้บรรเลงแต่ละคนมักมีสีสันเฉพาะตัว ทำให้ผู้ฟังเพลงประเภทแจ๊สทราบว่าเพลงที่ฟังนั้นใครเป็นผู้บรรเลง ซึ่งต่างไปจากดนตรีคลาสสิกที่ผู้บรรเลง พยายามบรรเลงให้ตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์หรือตรงตามโน้ตที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นการ แยกเสียงทรัมเป็ตของผู้บรรเลงเพลงเดียวกันสองคนในการบรรเลงเพลงแจ๊ส จะง่ายกว่า การบอก ความแตกต่างว่าใครบรรเลงทรัมเป็ตเพลงเดียวกันระหว่างผู้บรรเลงสองคนที่บรรเลงเพลงคลาสสิก

อิมโพรไวเซชั่น (Improvisation)

ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของดนตรีแจ๊สคือการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น หรือ เรียกแบบไทย ๆ ว่า " การด้นสด " หมายถึงการคิดท่วงทำนอง จังหวะ หรือการประสานเสียงใน ขณะบรรเลงอย่างไรก็ตามดนตรีแจ๊สมิได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์แบบอิมโพไวเซชั่นทั้งหมด แต่ ดนตรีมักประกอบด้วยการบรรเลงจากการประพันธ์กับการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสด อย่างไรก็ ตามการอิมโพรไวเซชั่นจัดเป็นเอกลักษณ์และหัวใจสำคัญของการบรรเลงดนตรีแจ๊ส

ปกติการอิมโพรไวเซชั่นเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงดนตรีแปรเปลี่ยนทำนองหลักไป ฉะนั้นรูปแบบของการบรรเลงจึงเป็นธีม (Theme) หรือทำนองหลักและการแวริเอชั่น (Variation) หรือการแปรทำนอง บางครั้งการแปรเปลี่ยนทำนองอาจเป็นการบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีเดี่ยวสองหรือสามชิ้น แต่ละตอนของการแปรเปลี่ยนทำนองและทำนองหลักมีชื่อเรียกว่า " คอรัส " (chorus) ดังนั้นเพลงนั้นอาจมี 4-6 ตอน หรือ 4-6 คอรัส เป็นต้น โดยตอนแรกเป็นการเสนอทำนองหลัก ดังตัวอย่าง .. Chorus 1 (32 bars) Theme

Chorus 2 (32 bars) Variation 1
Chorus 3 (32 bars) Variation 2
Chorus 4 (32 bars) Variation 3



จังหวะ ทำนอง และเสียงประสาน (Rhythm, Melody, and Harmony)

ลักษณะเด่นของจังหวะในดนตรีแจ๊ส คือ จังหวะขัด (Syncopation) และจังหวะสวิง สวิงเกิดจากการบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบาหรือลอยความมีพลังแต่ผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะสม่ำเสมอ โดยปกติเครื่องตี เช่น กลอง ฉาบ และเบส บรรเลงจังหวะตบ อัตราจังหวะของเพลงแจ๊สมักเป็นกลุ่ม 4 จังหวะ คือ 4/4 แต่จังหวะเน้นแทนที่จะลงที่จังหวะ 1 และ 3 กลับลงที่จังหวะที่ 2 และ 4 ส่วนจังหวะขัดลงหนักระหว่างจังหวะตบทั้งสี่นอกจากนี้การบรรเลง จริง ๆ มักมีการยืดค่าตัวโน้ต ไม่ได้ลงจังหวะตามที่เขียนเป็นโน้ตดนตรีเสียทีเดียว เช่น โน้ตที่บันทึกเป็น

การบันทึกโน้ตดนตรีแจ๊สให้ถูกต้องจริง ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากการบรรเลงแต่ละครั้งต้องใช้ความรู้สึก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ฟังดนตรีแจ๊สได้รับความรู้สึกนั้นไปด้วยและอยากที่จะเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะของดนตรีี ทำนองเพลงก็เช่นเดียวกันกับจังหวะ มักมีการร้องให้เพี้ยนไปจากเสียงที่ควรจะเป็นตามบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ที่แจ๊สใช้อยู่ เสียงเพี้ยนมักต่ำกว่าเสียงที่ควรจะเป็น ปกติมักเกิดขึ้นในเสียงตำแหน่งที่ 3 ,5 และ 7 ของบันไดเสียง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า " เบนท์หรือบลูส์โน้ต " (bent or blue note) สำหรับเรื่องเสียงประสานแม้จะใช้หลักการตามดนตรีคลาสสิก แต่ได้มีการพัฒนาการสร้างคอร์ดแปลก ๆ การจัดเรียงของคอร์ดตามแนวทางของดนตรีแจ๊ส ทำให้การประสานเสียงของดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ลักษณะของดนตรีแจ๊สหลัง 1950 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาไปของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ดนตรีแจ๊ส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจังหวะ การประสานเสียง รูปแบบและสีสัน เช่น มีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาผสมวง เช่น ฟลูท ฮอร์น เชลโล การใช้เสียงอีเลคโทรนิค เปียโนไฟฟ้า เกิดรูปแบบดนตรีแจ๊สใหม่ขึ้น เช่น ฟรีแจ๊ส แจ๊สร็อค หรือฟิวชั่นและคลูแจ๊ส
อย่างไรก็ตามไม่ว่ารูปแบบแจ๊สใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดนตรีแจ๊สในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ดิกซีแลนด์ บีบอบ บลูส์ ก็ยังอยู่และเป็นที่นิยมของผู้ฟังไม่เสื่อมคลาย

แจ๊สญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่บริโภคดนตรีแจ๊สมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ในญี่ปุ่นมีคลับแจ๊สดังๆ เหมือนอเมริกา มีนักดนตรีแจ๊สหมุนเวียนมาเล่น หรือจัดคอนเสิร์ตตามหัวเมืองใหญ่ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง หลังๆ นักดนตรีแจ๊สฝั่งอเมริกาและยุโรปข้ามฝั่งมาหากินในญี่ปุ่นมากขึ้น เช่น บ็อบ เจมส์ (Bob James) ก็เคยทำงานดนตรีร่วมกับ เคโกะ มัตสุอิ (Keiko Masui) นักเปียโนชื่อดังของญี่ปุ่น .. ดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นได้รับการถ่ายทอดมาจากอเมริกาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1920 จนมาสะดุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเพราะทางการสั่งห้ามดนตรีแจ๊ส (และดนตรีตะวันตก) .. แจ๊สในญี่ปุ่นกลับมาอีกครั้งก็เป็นยุคบ็อพซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก รวมถึงแขนงต่างๆ ของบ็อพด้วย

ดนตรีแจ๊สในญี่ปุ่นเวลานี้เป็นยุคของฟิวชัน อาจเพราะเหตุผลว่าติดหูได้ง่ายและสนุกสนาน .. อย่างไรก็ตาม สุ้มเสียงฟิวชันของญี่ปุ่นมีกลิ่นไอความเป็นเอเซียผสมอยู่ไม่น้อย รวมถึงสัมผัสของเจ-ร็อก (J-Rock) ก็มีปรากฏในดนตรีฟิวชันญี่ปุ่นเช่นกัน ขนาดที่ว่าใช้ 'สแตร็ต' กรีดแทน ตระกูล ES หรือ เลส พอล ก็เคยเห็นมาแล้ว ซึ่งไม่ผิดธรรมเนียมอะไร เพียงแต่มันบ่งบอกบุคลิกเพลงได้เหมือนกัน ด้วยเหตุดังกล่าวดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในทำนองเดียวกับ เจ-ป๊อป และ เจ-ร็อก ... วงดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงได้แก่ แคสิโอเปีย (Casiopea) ที-สแควร์ (T-Square) และ จิมซาคุ (Jimsaku) เป็นสามหัวหอกหลัก ระยะหลังทั้งสามวงออกทัวร์ต่างประเทศบ่อยครั้ง ร่วมงานกับนักดนตรีตะวันตกหลายคน

แจ๊สในไทย

ดนตรีแจ๊สในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในกลุ่มวัยรุ่น (a.k.a. เด็กแนว) นักดนตรีจึงมีไม่มาก ยิ่งนักร้องแจ๊สแท้ๆ ในเมืองไทย แทบไม่เหลือเลย .. นักดนตรีแจ๊สในไทยก็มีเพียงสายฟิวชัน เริ่มต้นจาก อินฟินิตี้ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร ภูษิต ไล้ทอง ที-โบน กลุ่มนี้หาเพลงฟังได้ยากแล้ว ส่วนที่สดใหม่ก็จะมี โก้-เศกพล อุ่นสำราญ ซึ่งเคยฝึกกับอินฟินิตี้ และเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งวงบอยไทย ก่อนจะออกอัลบั้มของตัวเอง ที่ได้ยินอีกคนคือ ดร.กะทิ-สิราภรณ์ มันตาภรณ์ นักกีตาร์แจ๊สแนวละตินฝีมือดี

แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่สนใจดนตรีแนวนี้ จริงๆ มีผู้ฟังคนไทยอยู่กลุ่มใหญ่ทีเดียวที่ชื่นชอบดนตรีแจ๊ส สังเกตได้จากงานคอนเสิร์ตแจ๊ส และขาประจำผับแจ๊สในกรุง และขาประจำห้องแจ๊สใน pantip.com โดยส่วนใหญ่มักนิยมฟิวชัน ละติน ฟังก์ ซึ่งฟังง่ายกว่า จะมีที่ฟังบ็อพหรือสแตนดาร์ด

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วงดนตรีสากลในปัจจุบัน

วงดนตรีสากล

แบ่งตามลักษณะการรวมวงที่เห็นได้ชัดเจน ดังนี้

วงซิมโฟนี (Symphony Orchestra) เป็นวงดนตรีสากลขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีสากล 4 กลุ่ม ประเภทของเครื่องดนตรีสากล ได้แก่
  1. กลุ่มเครื่องสาย
  2. กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง
  3. กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้
  4. กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ
วงดนตรีลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการบรรเลง จะนั่งหรือยืนบรรเลงตามลักษณะของเครื่องดนตรี

วงสติรงคอมโบ (String Combo)
เป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประมาณ 4 – 5 ชิ้น กล่าวคือ มี
  1. กีตาร์ลีด
  2. กีตาร์เบส
  3. ออร์แกนหรือคีย์บอร์ด
  4. กลองชุด
นิยมแพร่หลายในหมู่ของวัยรุ่นที่นิยมเล่นเพลงป๊อปทั่ว ๆ ไป

วงโยธวาทิต (Military Band)
เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. เครื่องเป่าลมไม้
  2. เครื่องเป่าทองเหลือง
  3. เครื่องประกอบจังหวะ

นิยมใช้เดินขบวนสวนสนาม และบรรเลงประกอบพิธีการต่าง ๆ ตามโอกาส

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบัน การดูแลรักษา

เครื่องดนตรีสากลในสมัยใหม่ แบ่งตามหลักในการทำเสียงหรือวิธีการบรรเลงเป็น 5 ประเภท 
 ดังนี้

1.เครื่องสาย
เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ

1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป
2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา


2.เครื่องเป่าลมไม้
เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท คือ

1) จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลูต

2) จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน


3.เครื่องเป่าโลหะ เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมให้ผ่านริมฝีปากไปปะทะกับช่องที่เป่า ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน เป็นต้น


4.เครื่องประเภทลิ่มนิ้ว(คีย์บอร์ด) เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดียน คีย์บอร์ดไฟฟ้า อิเล็กโทน

5.เครื่องตี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) เครื่องตีที่ทำทำนอง ได้แก่ ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
2) เครื่องตีที่ทำจังหวะ ได้แก่ ทิมปานี กลองใหญ่ กลองแตร็ก ทอมบา
กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากลมีหลายประเภท ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน การดูแลรักษามีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1.เครื่องสาย

ก่อนหรือหลังการเล่น ให้ใช้ผ้าแห้งลูบเบาๆ บนสายและตัวเครื่อง เพ่อขจัดฝุ่นคราบไคลต่างๆ
ถ้าเป็นเครื่องสายที่ใช้คันชักสี เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องปรับคันชักไม่ให้สายตึงเกินไป ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องเพราะหากปล่อยให้สายตึงเป็นเวลานาน อาจชำรุดได้

2.เครื่องเป่าลมไม้

ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องก่อนและหลังการเป่า ส่วนเครื่องเป่าที่เป็นโลหะ ให้ใช้ผ้านุ่มและแตะน้ำมันที่สำหรับทำความสะอาดเครื่องดนตรี แล้วลูบไปตามกระเดื่องกลไกและตัวเคลื่อนให้ทั่ว เพื่อทำให้กระเดื่องกลไกเกิดความคล่องตัวในการใช้งาน และช่วยไม่ให้เกิดสนิม

3.เครื่องเป่าลมทองเหลือง

ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้กดกระเดื่องสำหรับไล่น้ำลายแล้วเป่าลมแรงๆ เข้าไปตรงปากเป่าเพื่อไล่หยดน้ำลายที่ค้างอยู่ในท่อ เสร็จแล้วถอดปากเป่าออกมาทำความสะอาด โดยใช้ผ้าเช็ดและใช้เศษผ้าแตะครีมขัดโลหะลูบเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย

4. เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว

ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าแห้ง เช็ดถูที่ตัวเครื่องและบริเวณลิ่มนิ้วให้สะอาด ปิดฝาครอบแล้วใช้ผ้าคลุมให้เรียบร้อย




อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาสตร์ดนตรีสากล10)

สมัยศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน

หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนา อย่างต่เนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้า ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือแม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น

ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลอง สิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยัง มีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “ อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง

ลักษณะของบทเพลง

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่ม ใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของ เสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียง ความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง


มีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น 4 ประเภท

1. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน บาลาไลกา สืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.1600-1750 นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพสูง


2. เครื่องเป่าลมไม้ - Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) หีบเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวงหรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้

3. เครื่องเป่าทองเหลือง - Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะคล้ายทรัมเป็ตมานานกว่า 4,000 ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ตเป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ

4. เครื่องกระทบ - Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง 2 ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วย


อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล9)

สมัยอิมเพรสชันนิส Impressionist

ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890-1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของสมัยโรแมนติก ได้มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบุสชีผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกก่อให้เกิดความประทับใจ และแตกต่างจากดนตรีโรแมนติกซึ่งก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์

ลักษณะทั่ว ๆไปของดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกนั้นเต็มไปด้วยจินตนาการที่เฟื่องฝัน อารมณ์ที่ล่องลอยอย่างสงบ และความนิ่มนวลละมุนละไมในลีลา ผู้ฟังจะรู้สึกเสมือนว่าได้สัมผัสกับบรรยากาศตอนรุ่งสางในกลุ่มหมอกที่มีแสงแดดอ่อน ๆ สลัว ๆ ถ้าจะกล่าวถึงในด้านเทคนิคดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไปกลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง ( ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “ โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)

นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆ และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เพลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “ คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ“ คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร เดอบุสชี ได้กล่าวถึงลักษณะดนตรีสไตล์อิมเพรสชั่นนิสติกไว้ว่า…"สำหรับดนตรีนั้น ข้าพเจ้าใคร่จะให้มีอิสระ ปราศจากขอบเขตใด ๆ เพราะในสไตล์นี้ดนตรีก้าวไปไกลกว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ"

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล8)

สมัยโรมันติค Romantic

ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity) นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้

  • คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ
  • ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ

สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง

ลักษณะของดนตรีโรแมนติก

  1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
  2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
  3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
  4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
  5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล7)


สมัยคลาสสิค Classic

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่ชาวยุโรปส่วนใหญ่มีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมากก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค. ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี ( ค. ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค. ศ. 1814 สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason หลังการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูปแบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780 เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัยคลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้

ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยมการสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนองหลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสานลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนาโรงเรียนแมนฮีมจัดตั้งขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive ( เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว- ช้า- เร็ว เป็น เร็ว – ช้า – minuet – เร็ว(minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ ) ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )

สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการ ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไปเพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง ดนตรีสไตล์เบา ๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่งเครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน (JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของHeavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย

ความหมายของคำว่า “ คลาสสิกซิสซึ่ม” (Classicism)

คำว่า “ คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความหมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่งที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศตวรรษที่ 20

พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลาย ๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็นดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้นมี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายขอศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนปลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้นความวามหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่น ๆ

ลักษณะทั่วไปของดนตรีคลาสสิก

โดยทั่วไปแล้วดนตรีคลาสสิกสามารถตีความหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่น ๆ


สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก

1. ฟอร์ม หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน และยึดถือปฏิบัติมาเป็นธรรมเนียมนิยมอย่างเคร่งครัดเห็นได้จากฟอร์มโซนาตาที่เกิดขึ้นในสมัยคลาสสิก

2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและรัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง(Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony

3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก (Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพลี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ

4. การประสานเสียง (Harmony) นั้น การประสานเสียงของดนตรีสมัยนี้ซับซ้อนน้อยกว่าการประสานเสียงของดนตรีสมัยบาโรก ได้มีการใช้ตรัยแอ็คคอร์ด ซึ่งหมายถึง คอร์ด โทนิด (I) ดอมินันท์ (V) และ ซับโดมินันท์ (IV) มากยิ่งขึ้น และการประสานเสียงแบบเดียโทนิค (Diatonic harmony) ได้รับความนิยมมากกว่าการประสานเสียงแบบโครมาติค (Chromatic harmony)

5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ในสมัยคลาสสิกยังคงมีการใช้อยู่โดยเฉพาะในท่อนพัฒนาของฟอร์มโซนาตาในท่อนใหญ่ การประพันธ์ดนตรีที่ใช้ฟอร์มทางเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ซึ่งเป็นฟอร์มที่มี Counterpoint เป็นวัตถุดิบสำคัญ โดยทั่ว ๆ ไปจะไม่มีอีกแล้วในสมัยนี้

6. การใช้ความดัง - เบา (Dynamics) มีการนำเอาเอฟเฟคของความดัง – เบา มาใช้สร้างเป็นองค์ประกอบของดนตรี เห็นได้จากงานการประพันธ์ของนักประพันธ์หลาย ๆ คน ซึ่งความดัง - เบานั้นมีทั้งการทำเอฟเฟคจากเบาแล้วค่อยเพิ่มความดังขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าเครสเซนโด (Crescendo) และ จากดังแล้วก็ค่อย ๆ ลดลงจนเบาเรียกว่าดิมินูเอ็นโด (Diminuendo)

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล6)



สมัยบาโรก Baroque

มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl) Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว

ส่วนทางด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นที่สุดของดนตรี

บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ. เอส. บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 ในตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและหันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “ เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยทีเดียว หากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)

ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ แมสใน บี ไมเนอร์” ของ เจ. เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้

ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรก คือ

  • การทำให้เกิด “ ความตัดกัน” (Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การบรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ (Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata)
  • ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
  • การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแหน่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี
สัญลักษณ์ในการบันทึกบทเพลง

  • กุญแจซอล
  • กุญแจฟา
  • กุญแจโด อัลโต
  • กุญแจโด เทเนอร์
  • โน้ตสากลต่างๆ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
  • เครื่องหมายกำหนดจังหวะ


ลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้

  1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยวตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
  2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึกเรียกว่า Figured bass
  3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
  4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
  5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี(Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
  7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
  8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
  9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
  10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล5)

สมัยรีเนซองส์ Renaissance

คำว่า “Renaissance” แปลว่า “ การเกิดใหม่” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี แล้วจึงแพร่ไปยังเวนิชปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น

ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมี บทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้

1. สมัยศตวรรษที่ 15 ได้เปลี่ยนการปกครองจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) เป็นระบอบมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งกลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวกแมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภท ซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน(Homophony) ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย

2. สมัยศตวรรษที่ 16 มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้งทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “ โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป

นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น เห็นความสำคัญของดนตรีมากขึ้น โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music)จึงมีความสำคัญเท่ากัน

สรุปลักษณะบทเพลงในสมัยนี้

  1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
  2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
  3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน

เครื่องดนตรีที่ใช้
เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก ได้แก่
  • ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ
  • ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก

เครื่องเป่า ได้แก่
  • ลูท เวอร์จินัล
  • คลาวิคอร์ด
  • ขลุ่ยรีคอร์เดอร์
  • ปี่ชอม
  • ปี่คอร์เน็ต
  • แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบน
อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล4)

สมัยกลาง (The Middle Ages)

ดนตรีในสมัยกลางเป็นสิ่งที่ยากที่จะศึกษาเนื่องจากว่าดนตรีเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว เสียงตามท้องถนนของพ่อค้าเร่ เสียงร้องเพลงจากทุ่งหญ้าของกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การเต้นรำในงานรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงดนตรีบนเวที และแม้แต่บทเพลงจากกวีในภาคใต้ของฝรั่งเศส (ในศตวรรษที่ 11-13) ล้วนแล้วแต่มีอายุสั้น แม้แต่ดนตรีที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแฟชั่นเท่านั้น ซึ่งเหลือทิ้งไว้แต่คำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ของมัน
ประมาณ ค.ศ. 500 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเปลี่ยนจากยุคมืด (The Dark Ages) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ แวนดัล (Vandals, Huns) และ วิซิกอธ (Visigoths) เข้าไปทั่วยุโรป และนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิโรมัน เป็นเวลา 10 ศตวรรษต่อมา
สมัยกลางคือ ระยะเวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงปลายศตวรรษที่ 14 (ค.ศ.450-1450) สมัยนี้เจริญสูงสุดเมื่อประมาณศตวรรษที่ 12-13 ศาสนามีอำนาจสูงมาก ทั้งด้านปัญญาและสปิริต ทำให้คนสามารถรวมกันได้
หลังจากนั้นก็เริ่มเสื่อมลงแล้วติดตามด้วยสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสหลังจากสงครามก็มีการแตกแยกเกิดขึ้น ในสมัยนี้เริ่มมีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงคฤหัสถ์ (Secular music) ซึ่งเป็นเพลงขับร้องเพื่อความรื่นเริงได้รับความนิยมและแพร่หลายมาก ในประเทศต่าง ๆ ทางยุโรปตะวันตก นอกเหนือไปจาก
เพลงโบสถ์ (Church music) ซึ่งเพลงทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะต่างกันคือเพลงโบสถ์ซึ่งมีหลักฐานมาก่อน มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียวมักไม่มีดนตรีประกอบไม่มีอัตราจังหวะ ร้องเป็นภาษาละตินมีช่วงกว้างของทำนองจำกัด บันทึกเป็นภาษาตัวโน้ตที่เรียกว่า Neumatic notation เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่นกันนอกวัด มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียว ที่มักจะมีดนตรีเล่นประกอบเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะปกติมักเป็นในจังหวะ 3/4 มีจังหวะสม่ำเสมอเป็นรูปแบบซ้ำทวน ทำนองเป็นตอน ๆ มีตอนที่เล่นซ้ำ
ลักษณะที่กล่าวนี้เป็นลักษณะของเพลงในสมัยกลางตอนต้น ๆ ในระยะตอนปลายสมัยกลางคือราว ค.ศ. 1100-1400 นั้น ลักษณะของดนตรีเปลี่ยนแปลงพัฒนาไป

ช่วงเวลาประมาณ 300 ปี ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 12-14 ดนตรีในวัดมีรูปแบบเปลี่ยนไปจากตอนต้นของสมัยกลาง กล่าวคือ ในราวคริสตศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา เพลงแชนท์ ซึ่งรู้จักกันในนามของเกรเกอเลียน แชนท์ (Gregorian Chant) ได้รับการพัฒนามาเป็นรูปของการขับร้องแบบสอดประสานหรือโพลีโฟนี (Polyphony) จนถึงคริสตศตวรรษที่ 13 ลักษณะของเพลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ ออร์แกนนั่ม (Organum) คือ การร้องในลักษณะของการร้องประสานเสียงสองแนว โดยใช้ระยะขั้นคู่เสียงคู่สี่เป็นหลักและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ระยะต่อมาการเคลื่อนที่เริ่มไม่จำกัดทิศทางและท้ายที่สุดมีออร์แกนนั่มแบบเสียงที่สอง (เสียงต่ำ) ร้องโน้ตยาว ๆ เพียง 1 ตัว ในขณะที่เสียงหนึ่ง (เสียงสูง) ร้องโน้ต 5-10 ตัวเนื่องจากออร์แกนนั่มเป็นเพลงที่พัฒนามาจากดนตรีในวัดหรือเพลงโบสถ์จึงเป็นเพลงที่ไม่มีอัตราจังหวะในระยะแรกต่อมาจึงเริ่มมีลักษณะของอัตราจังหวะ กล่าวได้ว่าในช่วงเวลานี้สิ่งสำคัญเกิดขึ้น คือการร้องแบบสองทำนองเริ่มเกิดขึ้นแล้วอย่างเด่นชัด เป็นลักษณะของการสอดประสานในสมัยกลางนี้ทางดนตรีแบ่งเป็นสมัยย่อย ๆ ได้สองสมัย คือ สมัยศิลป์เก่า (Ars Antiqua) และสมัยศิลป์ใหม่ (Ars Nova)

สมัยศิลป์เก่า (Ars Antique)
ดนตรีในช่วงเวลาจากกลางศตวรรษที่ 12 ถึงปลายศตวรรษที่ 13 บางทีก็เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Ars Antique (The old Art) ซึ่งเป็นชื่อที่นักดนตรีรุ่นศตวรรษที่ 14 ตั้งชื่อย้อนหลังให้ ลักษณะของดนตรีในสมัยศิลป์เก่ามีลักษณะเป็นการสอดประสานแล้ว ซึ่งเรียกว่า ออร์แกนนั่มผู้นำคือ กลุ่ม นอเตอร์เดม (Notre Dame) นอกจากนี้ยังเกิดการประพันธ์ในลักษณะใหม่ขึ้นเรียกว่า โมเต็ต (Motet) คือ การนำทำนองจากเพลงแชนท์มาเป็นแนวเสียงต่ำหรือแนวเบส และเพิ่มเสียง 2 เสียงเข้าไปโดยเสียงที่เพิ่มมีจังหวะการเคลื่อนที่ของตัวโน้ตเร็วกว่าเสียงต่ำที่มีตัวโน้ตจังหวะยาวกว่า บางครั้งใช้เครื่องดนตรีเล่นแทนคนร้อง และมีเพลงอีกลักษณะหนึ่งเกิดขึ้น คือ คอนดุคตุส (Conductus) คือ เพลงในลักษณะเดียวกับโมเต็ต แต่แนวเสียงต่ำแต่งขึ้นใหม่ มิได้นำมาจากทำนองของเพลงแชนท์แบบโมเต็ต ส่วนเนื้อหาของเพลงมีต่าง ๆ กันออกไปทั้งเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องนอกวัด เช่น เรื่องการเมือง การเสียดสีสังคมเป็นต้น ลักษณะเด่นของ สมัยนี้คือ เริ่มมีการแต่งเพลงสองแนวจนถึงสี่แนว ในบางครั้งเพลงเริ่มมีอัตราจังหวะ ปกติมักเป็น 3/4,6/8หรือ 9/8 ปรากฏให้เห็นผู้ประพันธ์เพลงที่ควรรู้จัก คือ เลโอนิน และเพโรตินซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงเกี่ยวกับศาสนา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักร้องที่เล่นเพลงพื้นบ้านหลายกลุ่ม ซึ่งมักจะร้องแบบแนวเสียงเดียว ได้แก่ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ทรูบาดูร์” (Troubadours) อยู่ในแคว้นโปรวังซ์ (Provence) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นชนชั้นผู้ดีผู้มีอันจะกิน และ “ทรูแวร์(Trouveres) อยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส กลุ่มนี้เจริญขึ้นหลังจากกลุ่มทรูบะดูร์เล็กน้อย ส่วนในประเทศเยอรมันมีพวกมินเนซิงเกอร์ (Minnesingers)เป็นผู้เผยแพร่เพลงขับร้องที่พรรณนาถึงความกล้าหาญของเหล่าอัศวินหรือรำพันถึงความรักที่หวานซึ้ง

สมัยศิลป์ใหม่ (Ars Nova)

Ars Nova แปลว่า The New Art เป็นชื่อที่ศิลปินในศตวรรษที่ 14 ตั้งขึ้นเพื่อเรียกดนตรีของพวกตน ซึ่งแตกต่างจากดนตรีในศตวรรษก่อนหลาย ๆ อย่างเช่น นิยมใช้จังหวะคู่ (Duple time) 2/4 มากกว่าอัตรา 3 จังหวะ 3/4 แบบเดิม และใช้กระสวนจังหวะใหม่ ๆ แทน เริ่มมีการประพันธ์เพลงในรูปใหม่ เช่น มาดริกาล (Madrigal) เป็นโพลีโฟนี (Polyphony) เพลงที่มีรูปแบบการซ้ำทวนของทำนองหนึ่งและจบลงอีกทำนองหนึ่ง เช่น AAB หรือ AAAB ประกอบด้วยแนวเสียง 2-3 แนว มีกำเนิดในประเทศอิตาลี เพลงโมเต็ต มีการเปลี่ยนรูปแบบ โดยแนวเสียงต่ำที่นำมาจากแชนท์มีการเปลี่ยนลักษณะของจังหวะไปไม่ใช่เป็นเพียงโน้ตจังหวะเท่ากัน ในอัตรา ยาว ๆ แบบโมเต็ตในสมัยศิลป์เก่า

เครื่องดนตรี

เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก ได้แก่
  • ซอวิแอล (Vielle) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบ็ค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์
  • ซอทรอมบามารินา (Tromba marina) ซึ่งเป็นซอขนาดใหญ่ มีสายเพียงสายเดียวหรือถ้ามีสองสายก็เทียบเสียงระดับเดียวกัน (Unison) และผู้บรรเลงจะต้องยืนสีซอ

เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้นิ้วดีด ได้แก่ ลิวต์ ดนตรีต่าง ๆ

เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) ปี่ชอม (Shawm) แตรฮอร์นและทรัมเปต


อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล3)

สมัยโรมัน (Roman)

หลังจากกรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ใน 146 ปี ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรโรมันรับเอาวัฒนธรรมการดนตรีของกรีกไปทั้งหมด โดยมิได้มีการพัฒนารูปแบบของดนตรีไปสักเท่าไรนักยังคงใช้รูปแบบการร้องเสียงเดียว (Monophony) ซึ่งเรียกว่า เพลนซอง (Plain Song) หรือแชนท์ (Chant) โดยมากแล้วแต่ละแห่งจะคำนึงถึงผลของการปฏิบัติมากกว่าที่จะยึดติดกับรูปแบบที่รับมาตายตัว
นักปราชญ์ทางดนตรีสมัยโรมันยึดทฤษฎีดนตรีของกรีกเป็นหลักแล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบ เฮเลนิสติค เช่น โพลตินุส (Plotinus 205-270 A.D.) และศิษย์ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี (Porphyry 233-304 A.D.) ก็ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฎีแบบเพลโตนิคใหม่ (Neo-Platonic) โพลตินุส ได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจและจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้ามดนตรีอาจมีอำนาจทำลายหากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหาร
ในสมัยหลัง ๆ การดนตรีได้เสื่อมลงมากเพราะถูกนำไปบรรเลงประกอบในโอกาสและสถานที่ซึ่งไม่เหมาะสมและการจัดการบรรเลงดนตรีแบบโอ่อ่าก็ไม่เป็นที่สบอารมณ์หมู่นักปราชญ์ทางดนตรีประเภทอนุรักษ์นิยมเท่าใดนักเช่นการจัดแสดงดนตรีวงมหึมา(Monter concert) ในสมัย ของคารินุส (Carinus 284 A.D.) ได้มีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วยทรัมเปต 100 ชิ้นแตร (Horn)100 ชิ้น และเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก 200 ชิ้นถ้าจะกล่าวถึงชีวิตของนักดนตรีในสมัยนั้นก็พูดได้ว่าคึกคักมากสมาคมสำหรับนักดนตรีอาชีพได้รับการจัดตั้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิ์ให้แก่สมาชิกในรุ่นหลัง ๆ
เมื่อออกุสตุสได้ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ตั้งสมาคมสำหรับดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบ พิธีศาสนาและสำหรับงานของราชการด้วยนักแต่งเพลงผู้มีฝีมือก็ได้รับการอุปถัมภ์จากจักรพรรดิ เช่น การที่จักรพรรดิ์เนโรประทานวังให้แก่เมเนคราเตส (Menecrates) คีตกวีผู้มีชื่อคนหนึ่งของสมัยนั้น
โดยสรุปแล้วโรมันเอาความรู้จากกรีกไปเผยแพร่และปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในขณะนั้นเพื่อใช้ปลุกใจประชาชนให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งจะเป็นผลดีต่อการปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่ จากการค้นพบมรดกทางดนตรีจากแถบตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนเมื่อครั้งโบราณ โดยเฉพาะจากกรีกโบราณผ่านโรมันเข้าสู่ยุโรปเปิดเผยให้เห็นถึงความรู้ดนตรีที่มีค่ายิ่งเพราะทฤษฎีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แห่งเสียง (Acoustic) ที่กรีกปูทางไว้ให้หลายเรื่องเช่น การกำหนดคุณสมบัติและจัดระเบียบของเสียง ระบบเสียงที่ก่อให้เกิดบันไดเสียงต่าง ๆ หลักในการจัดหมวดหมู่ของลีลาหรือจังหวะ หลักเบื้องต้นในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีรวมทั้งทำนองเพลงเก่า ๆ ที่สะสมไว้ล้วนมีผลดีต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกต่อไป

Grout Palisca และ ละเอียด เหราบัตย์ ได้กล่าวถึงบันไดเสียงโบราณ ไว้ว่า … เพลงสวดแต่งขึ้นในระบบของบันไดเสียงโบราณที่เรียกตามหลักวิชาการดนตรีสากลว่า “ เชอร์ช โมด ” (Church Mode) บันไดเสียงโบราณนี้มีสองประเภท คือ ( ศิลปชัย กงตาล ,2542:50)
1. ออเธนติค เชอร์ช โมด (Authentic Church Mode) บันไดเสียงประเภทออเธนติคจะเริ่มต้นจากโน้ตขั้นแรกของบันไดเสียงมีชื่อเรียกโน้ตตัวเริ่มต้นนี้ว่า “ ฟินาลิส ” (Finalis) ฟินาลิสทำหน้าที่เหมือนคีย์โน้ต (Key Note) ในปัจจุบันคือเป็นศูนย์รวมของเสียงตามขั้นต่าง ๆ ของบันไดเสียงออเธนติคเชอร์ชโมด ประกอบด้วย 4 บันไดเสียง คือ
1.1 โปรตุส ออเธนติคุส (Protus Authenticus) หรือ (Dorian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มต้นจากโน้ต D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด -เร
1.2 ดิวเตรุส ออเธนติคุส (Deuterus Authenticus) หรือ ฟรีเจียน (Phrygian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต E-F-G-A-B-C-D-E หรือ มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร -
1.3 ตรีตุส ออเธนติคุส (Tritus Authenticus) หรือ ลีเดียน (Lydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต F – G – A – B – C – D – E – F หรือ ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี –
1.4 เตตราร์ดุส ออเธนติคุส (Tetardus Authenticus) หรือ มิกโซลีเดียน (Mixolydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต G – A – B – C – D – E – F – G หรือ ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา

2. เพลกัล เชอร์ช โมด (Plagal Church Mode) คือ บันไดเสียงโบราณที่เริ่มจากโน้ตที่อยู่ต่ำลงมาจากโน้ตฟินาลิสของโมดออเธนติดในระยะขั้นคู่เสียงคู่ 4 บันไดเสียงโบราณในประเภทเพลกัลนี้มีอยู่เป็นคู่กับบันไดเสียง ออเธนติค โดยมีโน้ตฟินาลิส (Finalis) ตัวเดียวกับออเธนติคเชอร์ชโมด มีอยู่ 4 บันไดเสียง คือ
2.1 โปรตุช ปลากาลิส (Protus Plagalis) หรือ ไฮโปโดเรียน โมด (Hypo – Dorian Mode) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก A – B – C – D – E – F – G – A หรือ ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา โดยมีโน้ต D เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
2.2 ดิวเตรุส ปลากาลิส (Deuterus Plagalis) หรือ ไฮโปฟรีเจียน (Hypo - Phrygian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก B – C – D – E - F – G – A – B หรือ ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที โดยมีโน้ตชื่อ E เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
2.3 ตรีตุสปลากาลิส (Tritus Plagalis) หรือ ไฮโปลีเดียน (Hypo – Lydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก C – D – E – F – G – A – B – C หรือ โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
2.4 เตตราร์ดุส ปลากาลิส (Tetrardus Plagalis) หรือ ไฮโปมิกโซลีเดียน (Hypo - Mixolydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
บทเพลงแชนท์ในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษนี้ มีการนำเครื่องหมายจุด (.) และขีด (-) มาใช้เพื่อแสดงถึงความสูง – ต่ำ ของระดับเสียง จุดและขีดเหล่านี้เขียนอยู่เหนือตัวอักษรมีชื่อเรียกตามวิชาการว่า “ เอ็คโฟเนทิค โนเทชั่น ” (Ecphonetic Notation) การขับร้องเพลงแชนท์นี้ไม่มีดนตรีประกอบ เป็นการขับร้องแต่เพียงอย่างเดียว

อ้างอิง :
โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล2)

สมัยกรีก (Ancient Greek music)

อารยธรรมโบราณทางยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี ความเจริญในศิลปวัฒนธรรมของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ1,000ปีก่อนคริสต์ศักราช ความเจริญดังกล่าว สูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการชำระล้างบาปและมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้ นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรแก่การศึกษา

วัฒนธรรมตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์และศิลปะล้วนมีต้นกำเนิดจากกรีก รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก

ประวัติของดนตรีกรีกโบราณ เริ่มขึ้นเมื่อ 330 ปี ก่อนคริสต์กาล วัฒนธรรมของกรีกแยกเป็น 2 สาย กล่าวคือ

สายที่ 1 ทางตะวันออก (Alexander the Great) และสายที่ 2 ทางตะวันตก (ตามชาวโรมัน) นอกจากนี้ดนตรีกรีกยังแบ่งออกเป็นยุดต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. Mythical Period จากเริ่มต้นถึง 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล ในสมัยนี้ได้สูญหายไปในความลึกลับของศาสตร์แห่งเทพนิยายกรีกดนตรีประเภทนี้ใช้ประกอบพิธีกรรมของลัทธิเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) ผู้เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง ซึ่งรวมถึงความมีเหตุผลและวินัยถือความถูกต้องชัดเจนและการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ พิณไลร่า (Lyre)

ทางตรงกันข้ามคือสื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครม สนุกสนาน ความลึกลับ และความมืด เทพนิยายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีคือ บรรดาเทพ 9 องค์ เป็นธิดาของเทพเจ้าซีอุส ซึ่งเป็นเทพประจำสรรพวิทยาและศาสตร์แต่ละชนิด

2. Homeric Period 1,000 – 700 ก่อนคริสต์กาล โฮเมอร์ (Homer) เป็นผู้ก่อตั้งสมัยนี้ และในสมัยนี้มีบทร้อยกรอง ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชนชาติ เกิดขึ้นจากการเดินทางผจญภัยของโฮเมอร์ ต่อมาบทร้อยกรองหรือ มหากาพย์ของโฮเมอร์ ได้กลายเป็นวรรณคดีสำคัญซึ่งชาวกรีกนำมาขับร้อง ผู้ที่ขับร้องมหากาพย์จะดีดพิณไลร่า (Lyra) คลอการขับร้อง ลักษณะการขับร้องนี้เรียกว่าบาดส์ (Bards) ศิลปินเหล่านี้พำนักอยู่ตามคฤหาสน์ของ ขุนนางถือเป็นนักดนตรีอาชีพ ขับกล่อมบทมหากาพย์โดยใช้ทำนองโบราณซึ่งเป็นท่อนสั้น ๆแต่มีการแปรทำนองหลายแบบ นอกจากนี้ยังมีดนตรีพื้นเมือง (Folk songs) ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลงของพวกเลี้ยงแกะที่เป่า Panpipes (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคล้ายแคน) เพื่อกล่อมฝูงแกะและยังมีดนตรีของชาวเมืองในลักษณะของคณะนักร้อง (Chorus) ขับร้องเพลงในพิธีทางศาสนาต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ ฯลฯ หรือในโอกาส ต่าง ๆ เช่น ในงานฉลองชัยชนะเป็นต้นคณะนักร้องสมัครเล่นเหล่านี้มักจะจ้างพวกบาดส์ให้มาดีดคีธารา (Kithara) คลอประกอบ

3. Archaic Period 700-550 ก่อนคริสต์กาล ศิลปะส่วนใหญ่มีการเริ่มต้นขั้นพื้นฐานในช่วงสมัยนี้และได้มีการพัฒนาขึ้นในสมัยคลาสสิกเกิดความนิยมรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกว่า “ลีริก” (Lyric) และการแสดงออกจากการระบายอารมณ์ในใจของกวี (Music expressing sentiments)ไม่ว่าจะเป็นความยินดี หรือ ความทุกข์ระทมอันเกิดจากความรัก ความชัง ความชื่นชมต่อความงามของฤดูใบไม้ผลิ ความประทับใจในความงามของค่ำคืนในฤดูร้อนหรือความสำนึกส่วนตัวของกวีที่มีต่อสังคม ต่อชาติรวมความแล้ว กวีนิพนธ์แบบลีริก(Lyric)นี้เอื้อให้กวีได้แสดงความรู้สึกส่วนตนได้อย่างเต็มที่
การร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) เป็นเพลงที่ใช้บวงสรวงและเฉลิมฉลองให้แก่เทพเจ้าไดโอนิซุสซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์เป็นการขับร้องเพลงประสานเสียง ที่มีต้นกำเนิดโดย นักร้องชาย 12 คน ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงโดย Arion ได้เพิ่มจำนวนนักร้องเป็น 50 คนและกำหนดให้มีนักร้องนำ 1 คน

4. Classical Period 550-440 ก่อนคริสต์กาล โชไรเลส (Choeriles) พีนีซุส (Phrynichus)พาตินุส (Pratinas) และเธสพิส (Thespis)ได้พัฒนาการร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) กล่าวคือได้มีการร้องเพลง
โต้ตอบกับกลุ่มคอรัสทำให้การแสดงกลายรูปเป็นในลักษณะการสนทนาโต้ตอบกัน แทนที่จะเป็นการเล่าเรื่องโดยการบรรยายอยู่ฝ่ายเดียว พวกเขายังช่วยสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของกรีกโบราณคือ การละคร (Drama) เป็นรูปแบบการแสดงที่มีการผสมผสานศิลปะการเต้นรำและดนตรีเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุลย์

ในสมัยนี้ได้มีการสร้างโรงละครกลางแจ้ง ตั้งอยู่ระหว่างซอกเขาที่มีเนินลาดโอบล้อมอยู่สามด้านเป็นอัฒจันทร์ที่นั่งคนดูซึ่งจุคนได้เป็นจำนวนมากและยังเห็นการแสดงได้ชัดเจนไม่มีการบังกัน อัฒจันทร์คนดูนี้เซาะเป็นขั้นบันไดสูงขึ้นไปตามไหล่เขาที่ลาดชันโดยโอบล้อมบริเวณที่ใช้แสดงเป็นพื้นที่ราบอยู่ต่ำลงไปเป็นรูปวงกลมหรือครึ่งวงกลม ซึ่งเรียกบริเวณว่า ออร์เคสตรา (Orchestra) ใช้เป็นที่แสดงของพวกคอรัสซึ่งยังคงความนิยมติดมากับการแสดง

5. Hellinistic Period 440-330ก่อนคริสต์กาล ลักษณะของการละครสมัยนี้เริ่มไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากว่ามีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการละคร ในสมัยนี้ศิลปะและบทประพันธ์ร้อยกรองต่าง ๆ มีการพัฒนาแยกออกจากดนตรีมีนักปราชญ์ทางดนตรีหลายคน การค้นพบกฎพื้นฐานของเสียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาและคณิตศาสตร์ ซึ่งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์นามกระเดื่องของกรีกคือ ไพธากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้วาง กฎเกณฑ์ไว โดยการทดลองเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของเสียงจากความสั้น - ยาวของสายที่ขึงไว้ ไพธากอรัสค้นพบวิธีที่จะสร้างระยะขั้นคู่เสียงต่าง ๆ รวมทั้งระยะขั้นคู่ 8 ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญของ
บันไดเสียงของดนตรีตะวันตก นักคิดรุ่นต่อ ๆ มาได้พัฒนาทฤษฎีดนตรีของกรีกจนได้เป็นระบบที่สลับซับซ้อนที่รู้จักกันในนามของโมด (Mode) ซึ่งได้แก่บันไดเสียงทางดนตรีที่ใช้ในการชักจูงให้ผู้ฟังมีความรู้สึกต่าง ๆ กันออกไป บันไดเสียงเหล่านี้จึงมีการใช้ในการสร้างสรรค์ดนตรีเฉพาะตามกรณี จากโมดนี้เองชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของอีธอส (Doctrine of ethos) ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรีโดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความขัดแย้งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้าย

โดยทั่วไปโมดสามารถจัดได้เป็นสองจำพวกคือ โมดที่สื่อถึงความเงียบสงบ มีระเบียบ ใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าอพอลโลและโมดที่สื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครมใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส ผลสะท้อนของแนวคิดที่กล่าวถึงนี้ทำให้ดนตรีของกรีกมีทั้งการแสดงออกถึงความซับซ้อนของท่วงทำนองจากการบรรเลงของเครื่องดนตรีล้วน ๆ ในการแสดงเพื่อการแข่งขันหรือในงานฉลอง
ต่าง ๆ และดนตรีที่แสดงออกถึงรูปแบบที่มีมาตรฐานซึ่งสัมพันธ์กับการบรรยายเรื่องราวตำนานของวีรบุรุษและการศึกษาสำหรับพวกสังคมชั้นสูงที่เต็มไปด้วยปรัชญาอันลึกซึ้งในหนังสือ Poetics นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์อย่างไรบ้าง เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรีซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไปด้วยทฤษฎีดนตรีกรีกของ Aristoxenus กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีดนตรีในปัจจุบันโดยได้เสนอผลงานระบบเสียงที่เรียกว่า เตตราคอร์ด (Tetrachord) 3 ชนิด คือ Diatonic, Chromatic, และ Enharmonic โดยเสียงที่อยู่ภายในคู่ 4 เพอร์เฟคจะถูกเรียกว่า Shade
ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วยตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่มีจิตใจสูง ดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล มีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจ เปลโตสอนว่า “การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด” ยิ่งกว่านั้นเปลโตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหวควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”
การที่จะเปลี่ยนนิสัยของมนุษย์จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้นี่คือทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า “จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติก็แล้วกัน” นี่หมายถึงว่า กฎหมายเพียงแต่กำหนดขอบเขตความประพฤติของคนจากภายนอก แต่อีธอสของดนตรีสามารถเข้าถึงจิตใจมนุษย์ และคุมนิสัยจากภายในได้ จากการศึกษาหลักฐานต่าง ๆ สรุปได้ว่าดนตรีกรีกน่าจะเป็นดนตรีเน้นเสียงแนวเดียว (Monophonic music) กล่าวคือเน้นเฉพาะแนวทำนองโดยไม่มีแนวประสานเสียง
ทำให้โครงสร้างของทำนองมีความสลับซับซ้อน ระยะขั้นคู่เสียงที่ใช้จะห่างกันน้อยกว่าครึ่งเสียงได้ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าไมโครโทน (Microtones) ดนตรีกรีกมีหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ดนตรีที่บรรเลง ด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการร้องไปจนถึงการร้องบทกวีแต่รูปแบบที่นับว่าสำคัญ ได้แก่ การร้องหมู่ ซึ่งพบได้ในละครของกรีก ในระยะแรกการร้องหมู่ใช้ในการสรรเสริญพระเจ้าและวีรบุรุษซึ่งมักมีการเต้นรำประกอบเพลงร้องด้วย

อ้างอิง :
โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล)

ประวัติศาตร์ดนตรีสากล

ดนตรีสากลหรือตะวันตกเป็นแม่แบบของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปในอดีตเพื่อทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆของอดีตในแต่ละสมัย ทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตกต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลอง การจินตนาการ ตามแนวคิดของผู้ประพันธ์เพลง จนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ได้ฟังกันจนถึงปัจจุบันนี้
การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นอกจากเพื่อศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้วยัง เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคตด้วย

ประวัติดนตรีตะวันตกแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้

  1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)
  2. สมัยโรมัน (Roman)
  3. สมัยกลาง (The Middle Ages)
  4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)
  5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)
  6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)
  7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)
  8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)
  9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)
อ้างอิง :
โรงเรียนลำปางกัลยาณี

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดนตรีไทย(เพิ่มเติม)

ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทย

ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล
และเสียงของเครื่องดนตรี ที่จะบรรเลงเป็นทำนองนั้น จะต้องมีเสียงสูงต่ำเรียงลำดับกันหลาย ๆ เสียง โดยปกติก็มีอยู่ 7 เสียง เมื่อถึงเสียงที่ 8 ก็ถือว่าเป็นเสียงซ้ำกับเสียงที่ 1(เรียกว่า คู่ 8) และซ้ำต่อ ๆ ไปตามลำดับ แต่ระยะความห่างจา ก เสียงหนึ่งไปอีกเสียงหนึ่งนั้น ดนตรีของแต่ละชาติมักจะนิยมแบ่งระยะไม่เหมือนกัน ส่วนการแบ่งระยะเสียงเรียงลำดับของ ดนตรีไทยนั้น แบ่งความห่างของเสียงเท่า ๆ กันทั้ง 7 เสียงจากเสียงที่ 1 ไปเสียงที่ 2 จากเสียงที่ 2 ไปเสียงที่ 3 จาก3 ไป 4 จาก 4 ไป 5 จาก 5 ไป 6 จาก 6 ไป 7 และ จาก 7 ไป 8 ทุก ๆ ระยะ เท่ากันหมด
ลีลาเป็นแบบเฉพาะตัว หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา ในแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่

ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง
เพลงดนตรีของไทยนั้น มีทำนองต่าง ๆ เพลงบางชนิดก็มีทำนองพื้น ๆ เรียบ ๆ ไม่มีพลิกแพลงอย่างใด เรียกว่า "เพลงพื้น " บางชนิดก็เดินทำนองเป็นเสียงยาว ๆ เพลงชนิด นี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีก็จะต้องตีกรอทำให้เสียงยาวจึงเรียกว่า " เพลงกรอ" และเพลงบางชนิดก็มีทำนองพลิกแพลงโลดโผน มีแบ่งเครื่องดนตรีเป็นพวก ผลัดกันหยุด ผลัดกันบรรเลง ก็เรียกว่า " เพลงลูกล้อลูกขัด" ถ้าจะแบ่งตามลักษณะของเพลง

การบรรเลงดนตรีไทยนั้น ผู้บรรเลงต้องจำทำนองเนื้อเพลงได้อย่างแม่นยำอย่างหนึ่ง รู้วิธีบรรเลงและหน้าที่ของ เครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้มว่ามีอย่างไร และมีสติปัญญาแต่งทำนองให้เกิดความไพเราะอีกอย่างหนึ่งเพราะการ บรรเลงดนตรีไทยไม่ได้ดูโน๊ต จึงต้องใช้ความจำ ในขณะที่บรรเลง ผู้บรรเลงจะต้องแต่งทำนองด้วยปัญญาของตน ให้ดำเนินไปตาม วิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ก็ต้องเก็บถี่ ๆ ตีเป็นคู่ 8 พร้อม ๆ กันทั้งสองมือ และต้องไม่ให้ผิด ไปจากเนื้อเพลงของเพลงนั้นด้วย


การผสมวง

ผสมวงคือ การเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ อย่างมาบรรเลงรวมกัน แต่การที่จะนำเอาเครื่องดนตรีคนละอย่างมาบรรเลงพร้อม ๆ กันนี้ จะต้องพิจารณาเลือกแต่สิ่งที่มีเสียงกลมกลืนกันและไม่ดังกลบเสียงกัน สมัยโบราณนั้นเครื่องดีดก็จะผสมแต่ กับเครื่องสี เพราะมีเสียงที่ค่อนข้างเบาด้วยกัน และเครื่องตีก็จะผสมแต่เฉพาะกับเครื่องเป่าเท่านั้น เพราะมีเสียงค่อน ข้าง ดังมากด้วยกันภายหลังเมื่อรู้จักวิธีสร้างหรือแก้ไขเครื่องตีและเครื่องเป่าให้ลดความดังลงได้พอเสมอกับเครื่อง ดีดเครื่องสี จึงได้นำเครื่องตีและเครื่องเป่าเหล่านั้นบางอย่างเข้าผสมเฉพาะแต่ที่ต้องการและจำเป็นและเลือกดูว่า เครื่องดนตรีอย่างไหนทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ได้หลายเสียง ก็ให้บรรเลงเป็นทำนองอย่างไหนทำเสียงสูงต่ำหลาย ๆ เสียงไม่ได้ ก็ให้ เป็นพวกบรรเลงประกอบจังหวะ

วงดนตรีไทย
ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ
วงปี่พาทย์
ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์

วงเครื่องสาย
เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา

วงมโหรี
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า

เครื่องดีด
  1. จะเข้
  2. กระจับปี่
  3. เต้า
  4. พิณ
  5. ซึง
  6. ไทยหัว
  7. กวาง
เครื่องสี
  1. ซอด้วง
  2. ซอสามสาย
  3. ซออู้
  4. สะล้อ

ครื่องตี
  • กรับ ได้แก่ กรับพวง และ กรับเสภา
  • ระนาด ได้แก่ ระนาดเอก,ระนาดทุ้ม,ระนาดเอกมโหรี,ระนาดทุ้มมโหรี,ระนาดเอกเหล็ก,ระนาดทุ้มเหล็ก
  • ฆ้อง ได้แก่ ฆ้องมโหรี,ฆ้องมอญ,ฆ้องวงใหญ่ ,ฆ้องวงเล็ก,ฆ้องโหม่ง,ฆ้องกระแต,ฆ้องระเบ็ง
  • ขิม
  • ฉาบ
  • ฉิ่ง
  • กลอง ได้แก่ กลองแขก,กลองมลายู,ตะโพน,ตะโพนมอญ,กลองทัด,กลองตุ๊ก,กลองยาว,มโหระทึก,บัณเฑาะว์,โทน,รำมะนา,โทนชาตรี,กลองสองหน้า,เปิงมางคอก

เครื่องเป่า
  • ขลุ่ย ได้แก่ ขลุ่ยหลิบ,ขลุ่ยเพียงออ,ขลุ่ยอู้
  • ปี่ ได้แก่ ปี่ใน,ปี่นอก,ปี่ไฉน,ปี่ชวา,ปี่มอญ

เพลงดนตรีไทย
แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ

เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ

เพลงรับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น

เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น
๔เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

การฟังเพลงไทย
วงดนตรีแต่ละอย่าง ย่อมมีวิธีบรรเลงและเสียงของเครื่องดนตรีต่างกัน จึงต้องรู้จักวงดนตรีที่ฟังนั้นเสียก่อน วงปี่พาทย์ที่ตีด้วยไม้แข็ง ก็ย่อมมีเสียงแกร่งกร้าว มักบรรเลงค่อนข้างเร็ว และโลดโผน วงปี่พาทย์ไม้นวม การบรรเลง ก็จะต้องค่อนข้างช้า ไพเราะในทางนุ่มนวล วงมโหรีจะต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนวงเครื่องสาย อาจมีได้ทั้งรุกเร้า รวดเร็ว และไพเราะนุ่มนวล เมื่อรู้เช่นนี้ ขณะฟังวงอะไรบรรเลงก็ฟังโดยทำใจให้เป็นไปตามลักษณะของวงชนิดนั้น

การฟังเพลง สิ่งสำคัญก็อยู่ที่ทำนอง เครื่องดนตรีที่บรรเลงทุก ๆ อย่างย่อมมีทำนองของตัวจะต้องฟังดูว่าเครื่อง ดนตรีทุก ๆ อย่างนั้น ดำเนินทำนองสอดคล้องกลมเกลียวกันดีหรือไม่ และต่างทำถูกตามหน้าที่ หรือไม่ เช่น ซออู้ทำหน้า ที่ หยอกล้อยั่วเย้าหรือเปล่า หรือฆ้องวงเล็ก ตีสอดแทรกทางเสียงสูงดีหรือไม่ เป็นต้น เมื่อสังเกตการบรรเลงอย่างนั้นแล้วจึง ทำอารมณ์ให้เป็นไปตามอารมณ์ของเพลง เพราะทำนองเพลงย่อมแสดงอารมณ์โศกรัก รื่นเริง หรือขับกล่อมให้เพลิดเพลิน เพลงอารมณ์โศก และรักมักจะมีจังหวะช้า ๆ และเสียงยาว เพลงรื่นเริง มักจะมีจังหวะค่อนข้างเร็ว และเสียงสั้น ส่วนเพลงขับกล่อม ก็มั ก จะเป็นพื้น ๆ เรียบ ๆ สม่ำเสมอ ทั้งนี้จะต้องสังเกตด้วยเสียงของทำนองที่มาสู่อารมณ์เราด้วย ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อฟัง เพลงในอารมณ์ใด ก็ตั้งใจฟังไปในอารมณ์นั้น ก็จะได้รสไพเราจากการฟังได้อย่างแท้จริง

การบรรเลงดนตรีไทยในวาระต่างๆ

การที่จะมี่ดนตรีบรรเลงประกอบในงาน ที่จะจัดให้มีขึ้นนั้น ก็ควรจะยึดถือแบบแผนที่สมัยโบราณได้เคย ใช้กันมาจนเป็นประเพณีไปแล้ว คือ
งานที่มีพระสงฆ์สวดมนต์และฉันอาหาร ควรใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ก็แล้วแต่เห็นสมควร
งานแต่งงาน หรือที่เรียกกันว่างานมงคลสมรส ควรใช้วงมโหรีหรือวงเครื่องสาย
งานศพ ถ้าจะใช้ดนตรีไทย ควรใช้วงปี่พาทย์นางหงส์
งานพิเศษที่จัดขึ้นเฉพาะครั้งคราว เช่น ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ประกอบกิจการสามารถใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม หรือ มโหรี หรือเครื่องสาย ก็ได้ แล้วแต่ความพึงพอใจ

อ้างอิง :
สารานุกรมไทย วิกิพิเดีย
สารานุไทยสำหรับเยาวชน เล่ม๑
วัฒนธรรมและประเพณีไทย บ้านจอมยุทธ
บอร์ดยิ้มสยาม หัวข้อ ประวัติดนตรีไทย(หมวดสาระ)
ประวัติดนตรีไทยโรงเรียนคูซอดประชาสรรค์