วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดนตรีแจ็ส Jazz

ประวัติความเป็นมาของแจ๊ส

ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชี่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อาฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro - American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา

อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรีมีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่สามารถอนุมานได้ว่าดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่าแหล่งอื่น ๆ ก็คือ การใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึงอยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น

ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับ ซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถม อัฟริกาตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง

ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีน หลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกา ก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ

เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน ีลีลาที่พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำนี้เรียกว่า " เพลงบูลส์ " (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพลงแจ๊ส

ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊สใน ยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน

พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส

นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง

ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสาน

สรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของ อเมริกันเองและดนตรีจากยุโรป จากแรกไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยมีกำเนิดที่เมืองนิวออร์ลีน แจ๊สยุคนี้เรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊ส คือ การบรรเลงแบบอิมโพรไวเซชั่น จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การ ประสานเสียง แปลก ๆ ทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นชัด แจ๊สมีการพัฒนาเรื่อยมาจากยุคแรกทำ ให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่างๆ

องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส (Elements of Jazz)

วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้

องค์ประกอบของดนตรีแจ๊สที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปเป็นองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส ในช่วง 1900 ถึง 1950 เนื่องจากดนตรีแจ๊สมีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายประเภท


สีสัน (Tone color)

ลักษณะโดยทั่วไปดนตรีแจ๊สเป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 3-8 คน ที่เรามักเรียกว่า " วงคอมโป " (Combo) หรือเรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) ซึ่งประกอบนักดนตรีประมาณ 10-15 คน โครงสร้างสำคัญของการบรรเลงคือกลุ่มเครื่องดำเนินจังหวะ (Rhythm section) ซึ่งเล่นจังหวะในลักษณะเดียวกับเบสโซ คอนตินิวโอ (Basso continuo) ในดนตรียุค บาโรค ในส่วนนี้มักบรรเลงด้วย เปียโน เบส และเครื่องตี บางครั้งอาจมี แบนโจ หรือกีตาร์ด้วย เครื่องดำเนินจังหวะเหล่านี้ช่วยทำให้การประสานเสียงน่าสนใจขึ้นด้วย ดนตรีแจ๊สยุคใหม่ผู้บรรเลงเครื่องทำจังหวะมักใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดเสียงเป็นลักษณะอื่น ๆ เช่น การเคาะไม้กลอง , การตีฉาบ , การใช้แส้ในการตีกลอง และการใช้มือทำให้เกิดเสียง

เครื่องดำเนินทำนองหรือเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเดียวที่แสดงความสามารถของผู้บรรเลง มักประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Wood winds) และเครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น คอร์เน็ต , ทรัมเป็ต , แซกโซโฟนทั้ง 4 ชนิด คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และบาริโทนแซกโซโฟน , คลาริเนท , ไวบราโฟน , ทรอมโบน และเปียโน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองยังสามารถใช้มิ้ว (Mute) ทำให้เกิดเสียงอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสีสันของเสียงต่าง ๆ ออกไปอีก แนวการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้ของผู้บรรเลงแต่ละคนมักมีสีสันเฉพาะตัว ทำให้ผู้ฟังเพลงประเภทแจ๊สทราบว่าเพลงที่ฟังนั้นใครเป็นผู้บรรเลง ซึ่งต่างไปจากดนตรีคลาสสิกที่ผู้บรรเลง พยายามบรรเลงให้ตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์หรือตรงตามโน้ตที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นการ แยกเสียงทรัมเป็ตของผู้บรรเลงเพลงเดียวกันสองคนในการบรรเลงเพลงแจ๊ส จะง่ายกว่า การบอก ความแตกต่างว่าใครบรรเลงทรัมเป็ตเพลงเดียวกันระหว่างผู้บรรเลงสองคนที่บรรเลงเพลงคลาสสิก

อิมโพรไวเซชั่น (Improvisation)

ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของดนตรีแจ๊สคือการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น หรือ เรียกแบบไทย ๆ ว่า " การด้นสด " หมายถึงการคิดท่วงทำนอง จังหวะ หรือการประสานเสียงใน ขณะบรรเลงอย่างไรก็ตามดนตรีแจ๊สมิได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์แบบอิมโพไวเซชั่นทั้งหมด แต่ ดนตรีมักประกอบด้วยการบรรเลงจากการประพันธ์กับการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสด อย่างไรก็ ตามการอิมโพรไวเซชั่นจัดเป็นเอกลักษณ์และหัวใจสำคัญของการบรรเลงดนตรีแจ๊ส

ปกติการอิมโพรไวเซชั่นเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงดนตรีแปรเปลี่ยนทำนองหลักไป ฉะนั้นรูปแบบของการบรรเลงจึงเป็นธีม (Theme) หรือทำนองหลักและการแวริเอชั่น (Variation) หรือการแปรทำนอง บางครั้งการแปรเปลี่ยนทำนองอาจเป็นการบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีเดี่ยวสองหรือสามชิ้น แต่ละตอนของการแปรเปลี่ยนทำนองและทำนองหลักมีชื่อเรียกว่า " คอรัส " (chorus) ดังนั้นเพลงนั้นอาจมี 4-6 ตอน หรือ 4-6 คอรัส เป็นต้น โดยตอนแรกเป็นการเสนอทำนองหลัก ดังตัวอย่าง .. Chorus 1 (32 bars) Theme

Chorus 2 (32 bars) Variation 1
Chorus 3 (32 bars) Variation 2
Chorus 4 (32 bars) Variation 3



จังหวะ ทำนอง และเสียงประสาน (Rhythm, Melody, and Harmony)

ลักษณะเด่นของจังหวะในดนตรีแจ๊ส คือ จังหวะขัด (Syncopation) และจังหวะสวิง สวิงเกิดจากการบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบาหรือลอยความมีพลังแต่ผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะสม่ำเสมอ โดยปกติเครื่องตี เช่น กลอง ฉาบ และเบส บรรเลงจังหวะตบ อัตราจังหวะของเพลงแจ๊สมักเป็นกลุ่ม 4 จังหวะ คือ 4/4 แต่จังหวะเน้นแทนที่จะลงที่จังหวะ 1 และ 3 กลับลงที่จังหวะที่ 2 และ 4 ส่วนจังหวะขัดลงหนักระหว่างจังหวะตบทั้งสี่นอกจากนี้การบรรเลง จริง ๆ มักมีการยืดค่าตัวโน้ต ไม่ได้ลงจังหวะตามที่เขียนเป็นโน้ตดนตรีเสียทีเดียว เช่น โน้ตที่บันทึกเป็น

การบันทึกโน้ตดนตรีแจ๊สให้ถูกต้องจริง ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากการบรรเลงแต่ละครั้งต้องใช้ความรู้สึก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ฟังดนตรีแจ๊สได้รับความรู้สึกนั้นไปด้วยและอยากที่จะเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะของดนตรีี ทำนองเพลงก็เช่นเดียวกันกับจังหวะ มักมีการร้องให้เพี้ยนไปจากเสียงที่ควรจะเป็นตามบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ที่แจ๊สใช้อยู่ เสียงเพี้ยนมักต่ำกว่าเสียงที่ควรจะเป็น ปกติมักเกิดขึ้นในเสียงตำแหน่งที่ 3 ,5 และ 7 ของบันไดเสียง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า " เบนท์หรือบลูส์โน้ต " (bent or blue note) สำหรับเรื่องเสียงประสานแม้จะใช้หลักการตามดนตรีคลาสสิก แต่ได้มีการพัฒนาการสร้างคอร์ดแปลก ๆ การจัดเรียงของคอร์ดตามแนวทางของดนตรีแจ๊ส ทำให้การประสานเสียงของดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ลักษณะของดนตรีแจ๊สหลัง 1950 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาไปของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ดนตรีแจ๊ส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจังหวะ การประสานเสียง รูปแบบและสีสัน เช่น มีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาผสมวง เช่น ฟลูท ฮอร์น เชลโล การใช้เสียงอีเลคโทรนิค เปียโนไฟฟ้า เกิดรูปแบบดนตรีแจ๊สใหม่ขึ้น เช่น ฟรีแจ๊ส แจ๊สร็อค หรือฟิวชั่นและคลูแจ๊ส
อย่างไรก็ตามไม่ว่ารูปแบบแจ๊สใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดนตรีแจ๊สในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ดิกซีแลนด์ บีบอบ บลูส์ ก็ยังอยู่และเป็นที่นิยมของผู้ฟังไม่เสื่อมคลาย

แจ๊สญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่บริโภคดนตรีแจ๊สมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ในญี่ปุ่นมีคลับแจ๊สดังๆ เหมือนอเมริกา มีนักดนตรีแจ๊สหมุนเวียนมาเล่น หรือจัดคอนเสิร์ตตามหัวเมืองใหญ่ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง หลังๆ นักดนตรีแจ๊สฝั่งอเมริกาและยุโรปข้ามฝั่งมาหากินในญี่ปุ่นมากขึ้น เช่น บ็อบ เจมส์ (Bob James) ก็เคยทำงานดนตรีร่วมกับ เคโกะ มัตสุอิ (Keiko Masui) นักเปียโนชื่อดังของญี่ปุ่น .. ดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นได้รับการถ่ายทอดมาจากอเมริกาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1920 จนมาสะดุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเพราะทางการสั่งห้ามดนตรีแจ๊ส (และดนตรีตะวันตก) .. แจ๊สในญี่ปุ่นกลับมาอีกครั้งก็เป็นยุคบ็อพซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก รวมถึงแขนงต่างๆ ของบ็อพด้วย

ดนตรีแจ๊สในญี่ปุ่นเวลานี้เป็นยุคของฟิวชัน อาจเพราะเหตุผลว่าติดหูได้ง่ายและสนุกสนาน .. อย่างไรก็ตาม สุ้มเสียงฟิวชันของญี่ปุ่นมีกลิ่นไอความเป็นเอเซียผสมอยู่ไม่น้อย รวมถึงสัมผัสของเจ-ร็อก (J-Rock) ก็มีปรากฏในดนตรีฟิวชันญี่ปุ่นเช่นกัน ขนาดที่ว่าใช้ 'สแตร็ต' กรีดแทน ตระกูล ES หรือ เลส พอล ก็เคยเห็นมาแล้ว ซึ่งไม่ผิดธรรมเนียมอะไร เพียงแต่มันบ่งบอกบุคลิกเพลงได้เหมือนกัน ด้วยเหตุดังกล่าวดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในทำนองเดียวกับ เจ-ป๊อป และ เจ-ร็อก ... วงดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงได้แก่ แคสิโอเปีย (Casiopea) ที-สแควร์ (T-Square) และ จิมซาคุ (Jimsaku) เป็นสามหัวหอกหลัก ระยะหลังทั้งสามวงออกทัวร์ต่างประเทศบ่อยครั้ง ร่วมงานกับนักดนตรีตะวันตกหลายคน

แจ๊สในไทย

ดนตรีแจ๊สในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในกลุ่มวัยรุ่น (a.k.a. เด็กแนว) นักดนตรีจึงมีไม่มาก ยิ่งนักร้องแจ๊สแท้ๆ ในเมืองไทย แทบไม่เหลือเลย .. นักดนตรีแจ๊สในไทยก็มีเพียงสายฟิวชัน เริ่มต้นจาก อินฟินิตี้ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร ภูษิต ไล้ทอง ที-โบน กลุ่มนี้หาเพลงฟังได้ยากแล้ว ส่วนที่สดใหม่ก็จะมี โก้-เศกพล อุ่นสำราญ ซึ่งเคยฝึกกับอินฟินิตี้ และเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งวงบอยไทย ก่อนจะออกอัลบั้มของตัวเอง ที่ได้ยินอีกคนคือ ดร.กะทิ-สิราภรณ์ มันตาภรณ์ นักกีตาร์แจ๊สแนวละตินฝีมือดี

แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่สนใจดนตรีแนวนี้ จริงๆ มีผู้ฟังคนไทยอยู่กลุ่มใหญ่ทีเดียวที่ชื่นชอบดนตรีแจ๊ส สังเกตได้จากงานคอนเสิร์ตแจ๊ส และขาประจำผับแจ๊สในกรุง และขาประจำห้องแจ๊สใน pantip.com โดยส่วนใหญ่มักนิยมฟิวชัน ละติน ฟังก์ ซึ่งฟังง่ายกว่า จะมีที่ฟังบ็อพหรือสแตนดาร์ด