วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ดนตรี เซลติค Celtic


Celtic Music คืออะไร?
เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่งที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศแถบทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษและไอร์แลนด์ และครอบคลุมขึ้นมาจนถึงประเทศสก็อตแลนด์, เวลส์, มณฑลบริทรานีของฝรั่งเศส, ประเทศกาลิเซียของสเปน และกินเข้ามาในบางพื้นที่ทีอยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคของประเทศแคนาดากับอเมริกาด้วย แต่หากเพ่งลงไปที่ความหมายจริงๆ นั้นต้องยอมรับปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็ว่าเป็นรูปแบบแนวดนตรีของชนชาว celt ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองโบราณที่อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นประเทศสก็อตแลนด์, ประเทศไอร์แลนด์, มณฑลคอร์นวอล (ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ) และแควนเวลสร์ของอังกฤษในปัจจุบัน บ้างก็ว่าเป็นรูปแบบของเพลงนิวเอจที่ผสมดัดแปลงโดยศิลปินที่มีเชื้อสายเซลติคที่อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศอเมริกาแถบเมืองบอสตันและชิคาโก้กับในประเทศแคนาดา ด้วยการนำรูปแบบของดนตรีพื้นเมืองของเดิมไปผสมกับแนวเพลงพื้นเพในถิ่นที่พวกเขาเข้าไปอาศัยอยู่ ซึ่งใครที่ศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรีมาบ้างก็คงพอจะทราบดีว่า เมืองชิคาโก้ของอเมริกานั้นถือว่าเป็นเสมือน ‘หม้อต้มวัฒนธรรมทางดนตรี’ ใบใหญ่ที่สุดใบหนึ่งของโลกดนตรี เป็นที่ซึ่งผลิตแนวดนตรีใหม่ๆ ออกมามากที่สุดแหล่งหนึ่ง เพราะที่นั่นเป็นดินแดนที่มีรูปแบบของดนตรีที่หลากหลายเข้าไปรวมกันอยู่



แต่ไม่ว่า celtic music จะคืออะไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันนี้มันจะไม่ได้ปรากฏรูปแบบของตัวเองออกมาชัดเจนเหมือนในอดีต แต่คนฟังเพลงทุกคนก็ยังสามารถรับรู้และแบ่งแยกได้อยู่ เนื่องจากคนฟังเพลงทั่วไปจะได้รับอิทธิพลในการเสพดนตรีแนวนี้มาจากผลงานของศิลปินเพลงเชลติคที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อย่างเช่นวง The Chieftains กับวง The Clancy Brothers เป็นต้น ซึ่งเท่ากับว่าศิลปินเหล่านี้ได้กลายเป็นตัวแพร่เชื้อเพลงแนวนี้ออกมาสู่ตลาดในวงกว้างและเป็นต้นตอในการแพร่ขยายรูปแบบของเพลงแนวเซลติคให้โลกภายนอกได้จดจำเป็นเบื้องแรก (ซึ่งอาจจะเพี้ยนไปจากออริจินัลบ้างแล้วก็ตามที)

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไซเคเดลิก ร็อก (Psychedelic rock)

ไซเคเดลิกร็อก (Psychedelic rock) 
เป็นแนวเพลงร็อกชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมไซเคเดลิก หรือพยายามที่จะปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเห็นภาพหลอนใหม่ โดยแนวเพลงนี้เกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1960 ท่ามกลางกระแสเพลงการาจร็อก และวงโฟล์กร็อก ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ไซเคเดลิกร็อกได้เชื่อมการเปลี่ยนแปลงจากแนวบลูส์-ร็อกเป็นฐานหลัก ไปเป็นโพรเกรสซีฟร็อก, อาร์ตร็อก, เอ็กซ์เพอร์ริเมนทอลร็อก และเฮฟวีเมทัล และยังนำองค์ประกอบวัฒนธรรมอื่น อย่างเช่นเครื่องดนตรีอินเดีย อย่าง ซิตาร์ หรือ Riga

ปี 1967 ในอังกฤษ ยาเสพติดทั้ง กัญชา Acid , LSD แพร่ระบาดอย่างหนักในกลุมนักดนตรี ซึ่งมีผลต่อการผลิตงานดนตรีของพวกเขา แนวเพลงที่เรียกว่าแนว"ไซคีเดลิคร๊อค"(คำว่า"ไซคีเดลิคมีมาก่อนแล้วในดนตรีแนวอื่น เช่น แจ๊ส โฟกส์ แต่ไม่แพร่หลายนัก) มีการเล่นนตรีแบบแหกกฎทษฎีดนตรี การใส่เสียงประหลาด เสียงอวกาศ (เครื่องมือเท่าที่มีในสมัยนั้น แนวอวกาศในจินตนาการของคนยุคนั้นก็ไม่เหมือนยุคนี้ ตอนนั้นกำลังตื่นเต้นเรื่องการไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก) การใช้เอฟเฟกซ์ต่าง ๆ หรือการเล่นย้อยกลับ รวมไปถึงการใช้เครื่องดนตรีอินเดียอย่าง ซีตาร์ โครงสร้างเพลงก็ไม่มีรูปแบบ บางเพลงสั้นแค่ 1 นาที บางเพลงอาจยาว 20 นาทีก็มี บรรยากาศเพลงบางเพลงฟังแล้วเครียด อึมครึม นัวเนีย ดนตรีไปคนละทิศละทาง บางเพลงก็ฟังแล้วล่องลอย เนื้อเพลงมีเนื้อหาแบบสัญลักษณ์สื่อถึงเรื่อง ยาเสพติด เซ็กซ์ ซาตาน เวทมนต์(ไม่สามารถสื่อโดยตรงได้) การแสวงหาหรือปรัชญาอินเดียก็มี การแสดงสดบางวงก็เล่นวกไปวนมาเหมือนเมายา รวมไปถึงการใช้แสงสีหรือเอฟเฟกต์ต่าง ๆ บนเวทีก็เป็นแนว ไซคีเดลิคด้วย การออกแบบปกอัลบั้ม โลโก้ หรือ Artwork ต่าง ๆ ก็ใช้สีสรรฉูดฉาด ดูแล้วปวดหัว แต่ก็สวยงามและกลายเป็นเอกลักษณ์ในเวลาต่อมา(ผู้รู้บางคนบอกว่า ถ้าเราไม่ได้อยู่ในช่วงเวลานั้น ก็คงยากที่จะเข้าใจ ก็ลองจิตนาการตามแล้วกันนะ)เคยมีเพื่อนชาวอังกฤษบอกว่า พวกเขา(ชาวอังกฤษ) เป็นต้นตำรับไซคีเดลิค อเมริกาไม่มีดนตรีแนวนี้ แต่พอศึกษาข้อมูลแล้วไม่เป็นเช่นนั้น ทั้ง 2 ฝั่งต่างรับวัฒนธรรมกันและกัน อเมริการับความเป็นร๊อคไปจากอังกฤษ ส่วนอังกฤษก็รับแนวคิดปรัชญา การแสวงหา สันติภาพ วัฒนธรรมฮิปปี้ รวมถึงยาเสพติดมาจากอเมริกาเช่นกัน สำหรับอเมริกา ดนตรี ไซคีเดลิคมีศูนย์กลางอยู่ที่ Sanfrancisco ปลายยุค 60 อยู่ในช่วงสงครามเวียดนาม ยุคบุปฝาชน (Flower People) เนื้อหาแบบบทกวี , ความรุนแรง, ต้านสงคราม ดนตรีไม่เครียดหรือหวือหวาแบบอังกฤษ จะฟังแล้วดูหลอนหรือล่องลอย เช่น เสียงออร์แกนของวง The Door แต่ที่เด่นก็คือ Artwork ปกอัลบั้มหรือใบปิดต่าง ๆ เช่น Poster การแสดงของวงดนตรีในยุคนั้น ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งเลยช่วงปลายยุค 60 คำว่า psychedelic ก็ค่อย ๆ หายไป ยาเสพติดต่าง ๆ ก็กลายเป็นของผิดกฎหมายและถูกกวาดล้าง ศิลปินมากมายเสียชีวิตหรือเสียสติไปเลยก็มีกับยาเสพติดพวกนั้น แนวดนตรีก็ถูกพัฒนาขึ้นไปตามยุคสมัย และเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ทั้ง Artrock, Evant-Garde(อวองต์ การ์ด) จนกลายเป็น Progressive rock การทำเพลงที่มีบรรยากาศแบบไซคีเดลิคก็ยังมีให้เห็นบ้างในศิลปินรุ่นหลัง เช่น เสียงกีตาร์ของ Burnard Butler แห่งวง suede ในยุค 90 หรืองานของ Primal Scream ชุด Screamadelica ยุค 90 ไซคีเดลิคตามยาเสพติดไปอยู่กับ dance Music ยาเสพติดชนิดใหม่อย่าง Esctasy ดนตรีพวก Psychedelic trance กับเสียงsynthiziser ล่องลอย หรือแนว GOA ซึ่งแน่นอนยังมีดนตรีอินเดียผสมอยู่ด้วยถึงแม้โดยส่วนใหญ่ต่างจากpsychedelic ยุค 60 อยู่มากถึงแม้เรื่องราวของดนตรีจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ศิลปะแบบ "ไซคีเดลิค" ยังมีให้ได้ศึกษากันอยู่ ในต่างประเทศยังมีนิทรรศการแสดงภาพ หรือศิลปะ กราฟฟิค ไซคีเดลิคให้เห็นเสมอ เหมือนเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง

Psychedelic Rock เป็นดนตรี rock ‘n’ roll ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 60 มีต้นกำเนิด จากหลาย แหล่งรวมกัน ลักษณะของดนตรีแบบ Psychedelic Rock ได้แก่ เนื้อร้องที่แหวกแนว การเล่นโน้ตแปลก ๆ การเปลี่ยน จังหวะอย่างคาดไม่ถึง การเรียบเรียงดนตรีที่ซับซ้อน เสียงกีตาร์ที่แตกพร่า หรือการนำ เอาเพลง สวด มาใช้ประกอบ แต่ลักษณะที่เด่นที่สุด คือ การพยายามจะแสดงออกถึง สภาวะของความเคลิบเคลิ้ม จาก การใช้ยาเสพย์ติดผ่านเสียงดนตรี และการใช้เนื้อเพลง ที่พูดถึงประสบการณ์ในการใช้ยาเสพย์ติด ตัวอย่าง ของศิลปินที่เล่นดนตรีในแนวนี้ได้แก่ The Yardbirds, The Byrds, The Doors และ The Great Society เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ดนตรีโพรเกรสซีฟ


Progressive Rock


โพรเกรสซีฟร็อก Progressive rock หรือเขียนสั้น ๆ ว่า prog หรือ prog rock เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 เป็นส่วนหนึ่งของ "ความพยายามในการยกฐานะเพลงร็อกอังกฤษสู่ระดับใหม่ ด้านความเชื่อถือด้านศิลปะดนตรี" คำว่า "อาร์ตร็อก" มักจะใช้ในความหมายเช่นเดียวกับ "โพรเกรสซีฟร็อก" แต่ขณะที่ทั้งสองแนวเพลงก็ข้ามกันไปข้ามกันมา แต่ทั้งสองแนวเพลงก็ไม่ใช่อย่างเดียวกันเป็นแนวดนตรีที่เหมือนชื่อ คือ ล้ำหน้า ล้ำยุคสมัย มีการใช้เสียงแปลกๆ เข้ามาในงาน การใช้ซินธิไซเซอร์ การเล่นดนตรียาวๆ และซับซ้อนมากขึ้นทั้งในภาคของดนตรีและเนื้อหา มีโครงสร้างดนตรีคล้าย Art Rock กำเนิดมาจาก Rock N Roll และ Experimentmetal Music วิวัฒนาการผ่านดนตรี Psychedelic และ Hard Rock มีโครงสร้างที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนด้วยลีลา มีทั้งความไพเราะและเข้าใจยาก การ สื่อสาร ในเชิงอุปมาอุปมัยให้ตีความไปตามความนึกคิดของคนฟัง เช่นเดียวกับดนตรีที่บรรเลงบรรยายสอดรับกับเรื่องราวที่กล่าวถึง อาจใกล้เคียงกับเรื่องที่พูดหรือผิดสภาพความเป็นจริง


ดนตรี Progressive Rock เท่าที่ปรากฎเป็นหลักฐานเกิดขึ้นมาจากอังกฤษก่อนในทศวรรษที่ 60 จากนั้นขยายตัวไปยังแถบยุโรปและอเมริกา วงดนตรีที่เป็นที่บุกเบิกในแนวนี้ เช่น Manfred Mann earth Band, The Moody Blues, Pink Floyd, Nice, Genesis, Yes, Camel และ UK เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นศิลปินจากประเทศ อังกฤษทั้งสิ้น ส่วนที่มาจากเยอรมนี อาทิ Tangerine Dream, Eloy, P'cock, Topass และ Ashra Tempel เป็นต้น


ทางแถบยุโรปบางครั้งเรียก " Art Rock “ เนื่องจากลักษณะของดนตรีมีความเป็น ศิลปะผสมผสานอยู่ในผลงานมาก มีลีลาอ่อนไหวไม่ต่างจากภาพวาดหรือศิลปะแขนงอื่น ลักษณะพิเศษทางดนตรีจะใช้เครื่องเสียงสังเคราะห์ร่วมบรรเลงกับเครื่องจังหวะ เนื้อหาของเพลงมีทั้งเรื่องราวในอดีต ปัจจุบันและอนาคต มีทั้งเรื่องการเมือง สังคม สงครามและเทพนิยาย บางครั้งเป็นเพลงบรรเลงท่วงทำนองคล้ายเพลงร้อง หากแต่พรรณนาหรือบรรยายภาพด้วยท่วงทำนองตามความคิดของศิลปิน กลุ่มศิลปิน Progressive Rock อังกฤษส่วนใหญ่จะเป็นเพลงร้อง ส่วนของเยอรมันเห็นมีวง Tangerine Dream ที่ยืนสไตล์เป็นเพลงบรรเลง สำหรับวงนี้บางครั้งถูกจัดเข้าแนวElectronic Music เนื่องจากเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเน้นไปทางเครื่องซินธ์กับดรัมแมซีน


นอกเหนือจากผลงานในรูปอัลบั้มที่แสดงบุคลิกเฉพาะแนวแล้ว Progressive Rock ยังมีลักษณะเด่นตรงการแสดงสด (Live) ที่มักนิยมตกแต่งเวทีและเติมแต่งลีลาการแสดงอันวิจิตรประกอบเข้าไปด้วย เพื่อช่วยเสริมสร้างบรรยากาศของเพลงให้ตื่นเต้นและเร้าใจ วงดนตรีประเภทนี้ที่มีชื่อในการทำเทคนิคอย่างอื่นประกอบการแสดงสดเช่น Pink Floyd, Genesis, David Bowie, Yes และ Rush เป็นต้น


ลักษณะเด่นอีกอย่างของศิลปินแนวนี้คือ หน้าปกอัลบั้มจะได้รับการออกแบบมาอย่างประณีตบรรจง เป็นศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องหรือบรรยายเรื่องราวที่กล่าวถึงใน อัลบั้มนั้น ๆ กระบวนการผลิตผลงานแต่ละชิ้นกินเวลาและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยเฉพาะการแสดง Concert จึงทำให้วงดนตรีประเภทนี้ได้รับความสนใจจากแฟนเพลงมาก และแฟนเพลงส่วนใหญ่มีมาตรฐานในการฟังเพลงสูงกว่า Popทั่วไป Rock สาขานี้ดูจะกำเนิดทายาทไม่รวดเร็วเท่าสาขาอื่น เป็นด้วยข้อจำกัดทางการค้าที่ศิลปินส่วนใหญ่ยังมองเป้าหมายเหมือนกันคือ ความมีชื่อเสียงและยอดจำหน่ายผลงาน กระนั้นต้นทศวรรษที่ 1990 ทายาท Progressive Rock หน้าใหม่ยังอุตส่าห์ถือกำเนิดสร้างกระแสให้เห็นอยู่บ้าง อาทิ Dream Theatre และ Shadow Galley บางวงอยู่ในกลุ่มของ Alternative อย่าง Sonic Youth และ Smashing Pumpkins ทุกผลงานยังเจือสีของ Progressive Rock ตั้งใจ โดยเฉพาะกลุ่ม The Youth ที่ ประกาศตัวเป็น Pure Art หรือนักสร้างดนตรีบริสุทธิ์ โดยปฏิเสธที่จะสร้างงานด้วยจุดมุ่ง หมายทางการค้า จะสังเกตเห็นว่าศิลปินประเภทนี้มักจะเป็นผู้กำหนดตลาด หรือก่อให้เกิดกระแสความนิยม


แม้แต่ในเมืองไทยบ้านเรา มิวายที่อิทธิพลดนตรีก้าวหน้าจะปลุกให้เกิดศิลปินสาขานี้เช่นกัน Butterfly, นุภาพ สวันตรัจฉ์, ตาวัน, Camera Eyes และมาโนช พุฒตาล เป็นอาทิ นับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา เสียดายที่กลุ่มคนฟังในบ้านเรา ยังไม่เปิดกว้างพอที่จะรองรับและยอมรับฝีมือของศิลปินไทยในแนว Progressive Rock มากเท่าที่ควร

ดนตรีพังค์ Punk

ดนตรีพังค์พั้งค์ (Punk)

เป็นคำสแลงที่ใช้เรียกสิ่งของหรือบุคคลที่ไร้สาระหรือโจรกระจอก ซึ่งมีที่มาจากความหมายที่แท้จริงคือ สารจุดไฟหรือไม้แห้งที่ใช้จุดไฟ แต่มีสิ่งหนึ่งที่นำคำนี้ไปใช้เรียกคือ “ Punk Music “ และดนตรีพังก์นี่เองที่ทำให้คำนี้ไม่มีวันหายไปเฉกเช่นดนตรีร็อค
ในขณะที่ดนตรีป๊อปของวงเดอะบีทเทิ่ลส์ ( The Beatles ) กำลังครองความนิยมทั่วโลกในช่วงปลายยุค ‘60s เรื่อยมาจนข้ามเข้าสู่ยุค ‘70s แม้ทางฝั่งอเมริกาช่วงนั้นเริ่มมีแวดวงอันเดอร์กราวนด์มิวสิค โดยมีวงอย่าง The Fugs ที่ทำดนตรีแปลกแยกจากวงอื่นๆ และนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมแล้วก็ตาม แต่คำว่า ‘ Punk Music ‘ ก็ยังไม่ถูกนำมาใช้

จนกระทั่งวงอาร์ต-ร็อคอย่าง The Velvet Underground ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1966 ได้ส่งผลให้เกิดการแตกหน่อทางดนตรีให้กับศิลปินหน้าใหม่มากมายให้กล้าสร้างผลงานดนตรีใหม่ๆ ออกมา ที่โด่งดังที่สุดคือ Iggy Pop & The Stoogers

แนวดนตรี Punk ได้ก่อกำเหนิดขึ้นที่ New York สหรัฐอเมริกา ในช่วงกลางทศวรรษที่ 60 ซึ่งวงดนตรีวงแรก ๆ ที่เล่นเพลงแนว Punk เช่นThe Stooges, MC5, The Sonics ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 70 Punkได้เข้าไปแพร่ขยายในกลุ่มวัยรุ่นชาวอังกฤษ โดยเฉพาะในกรุงลอนดอน จนอาจเรียกได้ว่า London เป็นเมืองหลวงของ Punk ในทวีปยุโรป ก็ว่าได้ ซึ่งวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้นได้แก่Agnostic Front, Dead Kennedys, Minor Threat, Blink182, Busted, Simple Plan และ Sex Pistols โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sex Pistols เป็นวง Punk ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคนั้น หลังจากนั้นความเคลื่อนไหวต่างๆ ของวงการPunk ก็มักจะเกิดขึ้นที่ London โดยเฉพาะในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ได้รับการตอบรับมากที่สุด ของวง Punk

ดนตรี Punk จะไม่มีการแสดงความสามารถของนักดนตรีคนใดคนนึงโดยเฉพาะเนื่องจาก Punk มีแนวคิดแบบ Anti-Heroes หรือการต่อต้านเอกวีรบุรุษนั่นเองอย่างวง Rock จะมีการโชว์เทคนิคการ Solo ของมือกีต้าร์ ดังนั้นดนตรี Punk จะเป็นดนตรีที่มีโครงสร้างง่ายๆ แต่เน้นความเป็นตัวของตัวเองของนักดนตรี
สิ่งที่มาพร้อมกับดนตรี Punk คือแนวคิดแบบ Punk ซึ่งแนวคิดแบบ Punk นั้นจะแตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย ในยุคเริ่มแรกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ Punk ที่เข้าไปมีบทบาทต่อวัยรุ่นในกรุงลอนดอน แนวคิด Punk จะเป็นแนวคิดแบบต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็นต่อต้านระบบโรงเรียน ต่อต้านเศรษฐกิจ ต่อต้ารอุตสาหกรรม ต่อต้านรัฐ ดังนั้นการแสดงออกของเหล่า Punk ทั้งหลายจะออกมาในลักษณะประชดประชัน และมีความรุนแรงแฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว ที่สวนกระแสของคนในสังคม การเสพยา และแอลกอฮอลในปริมาณมาก เพื่อประชดประชัน การแสดงออกที่รุนแรงในเวลาที่มีการแสดงคอนเสิร์ต และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ Punk ไม่เป็นที่ชื่นชอบนักของคนในสังคม ทั้งนี้ผู้ที่นิยมชมชอบในแนวดนตรีแบบ Punk กลับมาจากคนหลายระดับในสังคม ส่วนมากจะเป็นคนชั้นกลางและคนที่มีสถานะในสังคมที่ไม่ดีนัก แต่ก็มีนักศึกษาเรียนดีจำนวนหนึ่งในสมัยนั้นที่นิยมชมชอบในความเป็น Punk

ในยุคต่อมาคือทศวรรษที่ 80 ความรุนแรงของเหล่า Punk ได้อ่อนตัวลงไปอย่างสูง แต่แนวคิดต่อต้านของ Punk ก็ยังคงตัวอยู่ แต่ไม่ได้เน้นหนักไปทางต่อต้านสังคมโดยใช้ความรุนแรง และการประชดประชัดดังเช่นยุคแรก แต่เป็นการต่อการวงการดนตรีในสมัยนั้นโดยผ่านเสียงดนตรีของตนเอง เนื่องเพราะวงการดนตรีในยุคนั้นเป็นยุคแห่งการลวงโลก มีการปั้นแต่งนักร้องหน้าตาดีจำนวนมากเข้าสู่ตลาดเพื่อหวังผลกำไร ทำให้หลาย ๆ คนเบื่อหน่ายกับวงการดนตรีในสมัยนั้น แล้วหันมาสนใจดนตรี Punk ทำให้เกิด Fashion-Punk หรือคนที่ไม่ได้ชอบหรือเป็น Punk แต่พยายามทำตัวให้ดูเหมือน Punk เพื่อความโก้เก๋ขึ้นเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นไม่นานในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 Punk ก็ได้รับความสนใจน้อยลงเรื่อยๆ ถึงขนาดที่หลาย ๆ คนมองว่า Punk เป็นแนวดนตรีที่ตายไปแล้ว

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 วงการเพลง Rock มาถึงจุดอิ่มตัว วง Rock ต่าง ๆ ได้สร้างภาพสร้างความอลังการมากจนเกินความจำเป็น คนฟังเพลงจำนวนมากเริ่มเบื่อวง Rock ผมยาวใส่เสื้อหนัง และฉายแสงไฟกำลังสูงไปที่นักดนตรี จนคนดูแสบตา เพื่อให้การแสดงดนตรีดูหรูหราอลังการ ตัวอย่างของวง Rock เหล่านี้ได้แก่ Scorpions, Guns 'n Roses, Bon Jovi, Europe และอื่นๆอีกมากมาย
และในช่วงนี้นี่เองที่ Punk เข้ามาพลิกวงการดนตรีทั่วโลกอย่างที่ไม่มีใครคาดเดาได้
Nirvana วงดนตรีจาก Seattle สหรัฐอเมริกา ผู้ที่นำกลิ่นอายของดนตรี Punk ผสมเข้าในดนตรีของตนเอง กับแนวคิดแบบ Anti-Heroes เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงวงการดนตรีทั่วโลก โดย Nirvana ได้ใช้ดนตรีเป็นสื่อในการเรียกให้บรรดาวัยรุ่นออกมาแสดงความเป็นตัวของตัวเอง Smells Like Teen Spirit จากอัลบั้ม Nevermind เป็นเพลงที่ทำให้ Nirvana มีชื่อเสียงไปทั่วโลก แซงหน้าอัลบั้ม Dangerous ของ Michael Jackson และสามารถลบภาพวง Rock ผมยาวได้อย่างหมดจด เป็นการเปิดมิติใหม่ของวงการเพลงทั่วโลก และสร้างแรงบรรดาลใจให้นักดนตรีอิสระ (Indies) ออกมาแสดงความสามารถ และความเป็นตัวของตัวเอง เป็นจุดเริ่มต้นของ Modern Rock และ Alternative

ผู้ที่มีบทบาทต่อวง Nirvana มากที่สุดคือ Kurt Cobain นักร้องนำ มือกีตาร์ และคนแต่งเพลงให้กับวง Kurt Cobain เป็นคนที่ไม่ต้องการมีชื่อเสียง ต่อต้านการเหยียดสีผิว และ ยืนข้างเหล่ารักร่วมเพศ (แต่ ตัวเขาเองไม่ได้เป็นรักร่วมเพศ) ในการแสดงหลาย ๆ ครั้ง เขาและสมาชิกในวงได้แสดงออกในสิ่งเหล่านี้ เช่น แต่งชุดผู้หญิงขึ้นแสดงบนเวที เพื่อสื่อให้คนดูเห็นว่าตนเห็นด้วยกับพวกรักร่วมเพศ การแสดงที่ต่างจากที่ตกลงไว้กับเหล่าโปรดิวเซอร์ แกล้งเล่นผิดจนน่าเกลียดในกรณีที่ไม่พอใจผู้จัดการแสดง การทำลายเครื่องดนตรีและด่าทอเพื่อยั่วโทสะคนดู และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ Nirvana เป็นวงดนตรีที่มีการแสดงสดไม่เหมือนใคร และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ทั้งที่สิ่งที่ เขาต้องการคือไม่อยากให้ตนเองมีชื่อเสียง
ความมีชื่อเสียงทำให้เกิดความขัดแย้งในตนเองขึ้นในตัว Curt Cobain ทำให้เขาเกลียดตนเอง และคิดฆ่าตัวตายในหลาย ๆ ครั้ง ในช่วงที่ Curt Cobain มีชื่อเสียงถึงขีดสุด Nirvana ได้เดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตในประเทศต่าง ๆ ทั่วทวีปยุโรป ทำให้โรคกระเพาะของเขา กำเริบ บวกกับปัญหายาเสพติด และปัญหาครอบครัว ทำให้ชีวิตของ Curt Cobain ตกต่ำลงเรื่อย ๆ และได้เสียชีวิตโดยการฆ่าตัวตายในวันที่ 5 เมษายน 1994

เหล่านักดนตรี Punk มักบอกกับคนอื่น ๆ ว่า หากคุณดีดคอร์ดกีตาร์ได้สามคอร์ด คุณก็เล่นดนตรี Punk ได้แล้ว แต่ด้วยความง่ายของดนตรี Punk นี่เอง ที่ทำให้ดนตรี Punk เดินทางมาถึงทางตันอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง Green Day ได้ปลุกปลุกกระแสความเป็น Neopunk ไปยังกลุ่มวัยรุ่น ทำให้ Punk ได้หวนกลับสู่สังเวียนวงการเพลงอีกครั้งอย่างสง่างาม
Green Day นำโดย Billie Joe Armstrong มือกีตาร์และนักร้องนำ ได้สร้างชื่อเสียงด้วยอัลบั้ม Kerplunk และประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยอัลบั้ม Dookies ทั้งสองอัลบั้มได้ทำให้ Green Day กลายเป็นวง Punk ที่ดีที่สุดวงหนึ่งของโลก แต่ในอัลบั้มต่อมาคือ Insomniac ความนิยมในวง Green Day กลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด Green Day ถูกวิพากวิจารณ์อย่างหนักในสองอัลบั้มต่อมา คือ Nimrod และ Warning เนื่องเพราะทั้งสองอัลบั้มมีความเป็น Ballad Rock มากเกินกว่าที่จะเป็น Punk หลังจากนั้น Green Day ก็ได้ยุบวง

ในปี 2004 สมาชิกของวง Green Day กลับมารวมตัวกันอีกครั้งพร้อมกับอัลบั้ม American Idiot ซึ่งเป็นการกลับมาอันยิ่งใหญ่ของวง Punk ระดับโลกวงนี้ แฟนเพลงต่างตอบรับการกลับมาอย่างล้นหลาม สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจาก Green Day กลับมาเป็น Neopunk เต็มตัวอีกครั้ง ในเนื้อหาของเพลงมีการพูดถึงการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง พร้อม ๆ กับที่มีการสนับสนุนให้เหล่าวัยรุ่นกลับมาเป็นตัวของตัวเองอีกครั้ง

รางวัลต่าง ๆ และยอดขายของ American Idiot เป็นเครื่องยืนยันการประสบความสำเร็จของ Green Day ได้เป็นอย่างดี และการแสดงสดอย่าง Bullet in a bible ซึ่งแสดงที่ประเทศอังกฤษสองรอบในเวลาสองวัน รวมผู้ชมทั้งสิ้น 160,000 คน ก็เป็นเครื่องตอกย้ำความสำเร็จของ American Idiot ได้อย่างดีทีเดียว
1.ANARCHIST PUNK - วงพั้งค์ที่มีเนื้อหาฝักใฝ่อนาธิปไตยอย่างสุดขั้ว เสื้อผ้าหน้าผม การแต่งกายที่หลุดโลก มีชีวิตที่แปลกแยกออกจากสังคม วงเด่นๆคือ The Exploited, G.B.H, Conflict, Chaos U.K. Oi! - พั้งค์ที่แต่งกายแนวเดียวกันกับพวกสกินเฮด พวกแก๊งค์สผม๊ตเตอร์(บ้านเราเรียกแก๊งค์เวสป้าใช่หรือเปล่า)
พวกฮูลิแกน ดนตรีจะเบากว่า แอนนาคริสต์ พั้งค์ ดนตรีโจ๊ะๆ มีเมโลดี และชวนโยกสุดๆ แต่ก็ไม่ทิ้งความหนักหน่วงของดนตรีร็อค วงเด่นๆ คือ Blitz, The Bussiness, Cock Sparrer, 4 Skin คำว่า Oi! นั้นเป็นเหมือนคำอุทานของพวกพั้งค์ และที่มาอีกอย่างนึงก็คือมาจากเพลง Oi! Oi! Oi! ของวง Cockney Reject

2.Hardcore Punk แนวย่อย (Sub Genre) ของดนตรี Punk Rock ก่อกำเนิดขึ้นในช่วงปลายยุค 70 ที่อเมริกา ภายหลังจากการล่มสลายของพังก์จากฝั่งอังกฤษ โครงสร้างที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Punk Rock โดยใส่ความหนักแน่น ความเร็ว และความกระชับ มากกว่าวงพังก์รุ่นก่อนๆ Godfather ของวงการในยุคนั้นต้องยกให้กับ 3 วงนี้ Black Flag, Bad Brains และ Minor Threat

3.Horror Punk แนวย่อย (Sub Genre) ของดนตรี Punk Rock บุกเบิกโดยวง Misfits ด้วยเอกลักษณ์เนื้อหาที่พูดถึงเรื่องสยองขวัญ ภูติผี ปีศาจ ดนตรีที่ไม่หนีไปจาก Hardcore Punk สักเท่าไหร่ สไตล์การร้องในแบบ Doo-wop ของดนตรี Rhythm And Blues และกลิ่นอายของดนตรี Rockabilly

4.SWEDISH - Swedish Punk, Swedish Hardcore, หมายถึงวงดนตรีจากประเทศสวีเดน เราจะรู้ดีว่าประเทศสวีเดนนั้นมีวงเมทัลหนักกระโหลกมากมาย และดนตรีก็มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองเช่น Swedish Death, Swedish Black เช่นเดียวกันกับดนตรีพั้งค์ สวีเดนมีวงเด่นๆดังๆมากมายและดนตรีที่รับอิทธิพลมาจากวงอังกฤษอย่าง Discharge

นั้นก็ทำให้วงจากสวีเดนนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวค่อนข้างสูง มีความโหดความหนักกว่าฮาร์ดคอร์พั้งค์ในยุคเดียวกัน รวมถึงอิมเมจดุดัน ผมแหลมชี้ฟู เสื้อหนังปักหมุดที่ถอดแบบพั้งค์อังกฤษมาทีเดียว วงเด่นๆคือ Anti Cimex, Mob 47, Shitlickers, Moderat Likvidation, Crude SS, Totalitar และอีกมากมาย วงจากสวีเดนนี้มีอิทธิพลให้วงรุ่นหลังได้ไม่แพ้วงจากอังกฤษและอเมริกาเลยทีเดียว

5.FINISH - Finish Punk, Finish Hardcore, วงดนตรีจากเพื่อนบ้านสวีเดนอย่างประเทศฟินแลนด์ ในด้านอื่นๆประเทศฟินแลนด์อาจไม่ได้มีอะไรเด่น แต่ในยุค 80 วงจากประเทศนี้ก็มีมาอาละวาดเหมือนกันและยังทรงอิทธิพลถึงทุกวันนี้ วงเด่นๆ KAAOS, RIISTETYT, APPENDIX

6.JAPANCORE - Japcore วงดนตรีพั้งค์ ฮาร์ดคอร์ จากแดนปลาดิบ อย่างที่รู้กันว่า มีทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศนี้รวมถึงวงดนตรีพั้งค์ชั้นหัวกระทิมากมายตั้งแต่ยุค 80 เป็นต้นมา มีวงเด่นๆอย่าง Confuse, Kuro, G.I.S.M และรวมถึงวงโคตร D-beat อย่าง Disclose

ที่ญี่ปุ่นมีวงดนตรีอยู่หลากหลายสไตร์ แต่ที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาก็คือ ฮาร์ดคอร์ พั้งค์ และพั้งค์ในแบบเอ๊กซ์ตรีมอีกมากมาย วงเด่นๆ Confuse, Kuro, G.I.S.M, Death Side, Disclose, Final Blood Bath, Battle of Disarm D-BEAT - D = Discharge BEAT = drum beat, drum stlye แนวดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจาก Discharge อย่างเต็มๆ ทั้งดนตรี เนื้อหา โลโก้ ด้วยริทึ่มกลอง และสัดส่วนของดนตรีแบบ Discharge มีวงแนวนี้ออกมามากมาย แต่วงที่ถือว่าเป็นเจ้าพ่อของแนวนี้ก็คือ Disclose จากญี่ปุ่น ทุกสิ่งทุกอย่างแทบจะถอดแบบ Discharge มาเลยก็ว่าได้ แต่ดนตีก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

นอกจาก D-beat จะได้รับอิทธิพลมาจาก Discharge แล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากวงอย่างสวีเดนอย่าง Anti Cimex, Shitlickers, Mob 47 มาเต็มๆ D-beat นับเป็นแนวดนตรีแนวหนึ่งที่ได้รับความนิยมในแวดวงดนตรีพั้งค์อินดี้ใต้ดิน วงเด่นในแนวนี้ Disclose, Final Blood Bath, Besthoven, Recharge, Diskonto รวมถึงวงเพื่อนบ้านเราอย่าง Apparatus วง D-beat จากมาเลเซียที่เริ่มสร้างชื่อเสียงในแวดวง

7.STREET PUNK - พั้งค์ข้างถนน วันๆไม่ทำงานทำการ กินแล้วเมา เมาแล้วกิน street punk หมายถึงดนตรีพั้งค์แนวนึงที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และหมายถึงแฟชั่นของพั้งค์พวกนี้ ซึ่งเป็นพั้งค์ในแบบที่คนทั่วไปรู้จักกัน หัวหนามสีสันแสบตาเสื้อหนังปักหมุด วงเด่นๆคือ The Casualties, The Unseen, The Virus, A Global Threat, Antidote, Action วงเหล่านี้บางครั้งก็มักเรียกว่า Hardcore Punk เหมือนกัน

8.Pop Punk แนวย่อย (Sub Genre) ของดนตรี Punk Rock ถูกวางรากฐานมาตั้งแต่ยุค 70 โดยวงอย่าง Ramones, Buzzcocks และ The Undertones ด้วยการผสมผสานดนตรี Pop ที่เนื้อหาใกล้ๆตัว ฟังง่าย เข้าถึงได้ง่าย บวกเข้ากับความรวดเร็ว ดิบ กระชับของดนตรี Punk Rock ดนตรี Pop Punk เป็นรูปเป็นร่างจริงก็ในช่วงต้นยุค 90 โดยบรรดาวงจากค่าย Lookout! Records เช่น Screeching Weasel, The Queers, The Mr. T Experience และ Green Day

9.Oi! แนวย่อย (Sub Genre) ของดนตรี Punk Rock กลุ่มวงดนตรีจากชนชั้นแรงงาน และเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม Skinheads ที่ก่อกำเนิดในช่วงต้นยุค 80 ที่ประเทศอังกฤษ โครงสร้างที่ยังคงความเป็น Punk Rock ผสมผสานดนตรี Folk และองค์ประกอบทางดนตรีที่เรียบง่าย เนื้อหามุ่งเน้นชีวิต และการให้กำลังใจของชนชั้นแรงงาน วง Cockney Rejects เป็นผู้สร้างเอกลักษณ์สำคัญของ Oi! โดยนำคำว่า Oi! Oi! Oi! ใส่เข้าไปในบทเพลง วงเด่นๆในยุคนั้นก็มี Angelic Upstarts, The 4-Skins, The Business, Blitz, The Blood, The Last Resort, Combat 84, Infa Riot, The Burial และ The Oppressed

10.Anarcho Punk วัฒนธรรมย่อย (Subculture) ของดนตรี Punk Rock เรียกอีกอย่างว่า Peace Punk เกิดขึ้นในอังกฤษช่วงยุค 70-80 อิทธิพลดนตรีจากวงในยุค 70 แต่มุ่งเน้นเนื้อหาภาวะอนาธิปไตย การเมือง และสังคมแบบสุดโต่ง โดยมีวง Crass, Conflict, Flux of Pink Indians, Subhumans, Poison Girls, Rudimentary Peni และ Oi Polloi เป็นหัวหอกให้กับวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มนี้
CROSSOVER - ดนตรีฮาร์ดคอร์ที่ผสมดนตรี Thrash เข้าไปเพราะว่าช่วงนั้นดนตรี Thrash & Speed กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง และวงฮาร์ดคอร์ก็ได้นำดนตรีแทรชผสมเข้าไปให้เกิดความรุนแรงกร้าวร้าวกว่าฮาร์ดคอร์ทั่วไปวงเด่นๆ D.R.I, Amagedom, Concret Sox

11. Skate Punk แนวย่อย (Sub Genre) ของดนตรี Hardcore Punk เกิดขึ้นในช่วงปลายยุค 80 รับอิทธิพลดนตรีมาจาก Hardcore Punk ผสมผสานกับดนตรี Surf Rock จังหวะที่รวดเร็ว รุนแรง แต่ไม่ก้าวร้าว เนื้อหาที่พูดถึงอยู่กับกีฬาสเก็ตบอน์ด และชีวิตเด็กวัยรุ่นในยุคนั้น จนเกิดเป็นกระแสแฟชั่นในการที่วงดนตรีได้รับการสนับสนุนเสื้อผ้าจากบริษัท ผลิตสินค้าสเก็ตบอร์ดทั้งหลาย เช่นวง Pennywise, NoFX, 88 Fingers Louie, No Use For A Name, No Fun At All, Millencolin, Lagwagon, Good Riddance, A Wilhelm Scream, Slick Shoes, Strung Out และ Ten Foot Pole

12. 2Tone แนวดนตรี (Musical Genre) ที่ก่อกำเนิดในช่วงปลายยุค 70 ที่ประเทศอังกฤษ เป็นการผสมผสานสายพันธุ์ดนตรีอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Ska, Punk Rock, Rocksteady, Reggae และ Pop วงเด่นๆในยุคนั้นได้แก่ The Specials, The English Beat, Madness และ The Bodysnatchers ซึ่งต่อมาในภายหลังได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับดนตรี Third Wave Ska หรือที่รู้จักในชื่อ Ska Punk ในช่วงยุค 90 ที่ประเทศอเมริกา

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ดนตรีร็อค Rock

กำเนิดดนตรีร็อค

ร็อก (Rock) หรือ ร็อกแอนด์โรล (Rock"n Roll) เป็นดนตรีที่ประกอบด้วย กีตาร์ กีตาร์เบส กลอง เป็นเครื่องดนตรีหลัก รูปแบบดนตรีง่ายๆ เน้นความหนักแน่นในเนื้อหาที่ต้องการสื่อ และความสนุกสนาน คิดค้นขึ้นในค้นศตวรรษที่ 60 โดยเอลวิส เพรสลีย์ โดยการนำเอาการร้องที่ใช้เสียงสูงของเพลงบลูส์ของ คนผิวดำ ผสมกับทำนองสนุกสนานของเพลงคันทรีของคนผิวขาว เป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมของสองเชื้อชาติ ซึ่งเอลวิส เพลสลีย์ ต่อมาได้รับการยกย่องและเรียกว่าเป็น " ราชาร็อกแอนด์โรล " และเพลงร็อกก็ได้พัฒนาและต่อยอดมาตราบอย่างหลากหลาย มาจนปัจจุบัน ที่แตกแขนงออกเป็นหลายประเภท เช่น เฮฟวี่เมทัล, เดธเมทัล, บริติสร็อก, อัลเทอร์เนทีฟ เป็นต้น

ดนตรี Rock มีรากฐานมาจากดนตรีบลูส์ (Blues) ซึ่งมีกําเนิดโดยคนผิวดําที่ถูกฝรั่งจับมาเป็นทาส คนผิวดําเหล่านี้ถูกฝรั่งใช้งานอย่างหนักในการปลูกฝ้าย และยาสูบในภาคใต้ของสหรัฐ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1600s) เวลาทํางานในไร่ พวกเขาปลอบประโลมใจ ด้วยการร้องเพลงเป็นจังหวะ ขุดดิน เหวี่ยงจอบเป็นจังหวะไปพร้อมๆกันนี้ คือที่มาของดนตรีบลูส์ ซึ่งจะมีลักษณะเด่นคือการขับร้องและเล่นโดยใช้ Pentatonic Scale คือว่ามันมีเสียงโน๊ตหลักๆอยู่เพียงห้าเสียง ตัวอย่างเช่นใช้คอร์ด C7 เป็นจุดเริ่มของเพลง จะพบว่าเสียงใน Pentatonic Scale นั้นจะมีโน๊ตตัว C, D#, F, G, A#, และ C สูง แต่ไม่ได้จํากัดอยู่เพียงแค่นั้น ในเรื่องของจังหวะ ดนตรีบลูส์ จะมีจังหวะที่หลากหลายและผสมผสานที่สุด ตั้งแต่ ช้ามาก จนถึงแบบ เร็วรัว และเป็นจุดเริ่มต้นของคนตรี Rock

ศิลปินที่เล่นบลูส์แบบ เร็วรัว ในช่วงแรกๆของการบันทึกเสียง (1920s-1950s) ที่หาฟังกันได้ก็จะมี Robert Johnson, Muddy Waters, Mead "Lux" Lewis, Chuck Berry, Little Richard, และ Bo Diddley
ศิลปินเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคนผิวดํา ทําให้สังคมอเมริกัน (ซึ่งเป็นสังคมเหยียดผิว ช่วงเวลานั้น) ไม่ยอมรับ และจําต้องพยายามหานักร้องผิวขาวอย่างเช่น Elvis Presley, Pat Boon, Jerry Lee Lewis, Bill Haley มาร้องแทน แม้ว่าเพลงที่นํามาขับร้องจะเป็นเพลงของศิลปินผิวดําแทบทุกเพลงก็ตาม

ในช่วง 1950s นั้น แม้ว่าวัยรุ่นชาวอเมริกันจะไม่ยอมรับศิลปินผิวดำ แต่เด็กหนุ่มวัยรุ่นที่อยู่อีกฝั่งของมหาสมุทรแอ็ดแลนติก กลับชื่นชอบศิลปินผิวดําเป็นจํานวนมาก จนทําให้เกาะอังกฤษนั้นกลายเป็นจุดกําเนิดของวง Rock กันหลายวง และที่ออกจะมีชื่อเอามากในช่วง 1960s ก็คือ The Beatles และ The Rolling Stones
วงคนตรีทั้งสองนี้แตกต่างจากนักร้องอย่าง Elvis Presley หรือ Pat Boon ตรงที่ พวกเขาสามารถแต่งเพลงเองได้ และทําให้เกิดกระแสใหม่หลายอย่างในเพลง Rock อย่างเช่นการใช้กีต้าร์ "เสียงแตก"(Distortion) เพื่อสร้างนํ้าหนักและตอบสนองความต้องการในการฟังที่แปลกใหม่ ของเด็กรุ่นใหม่ The Beatles และ The Rolling Stones สามารถเข้าความต้องการอย่างแท้จริง ของเด็กวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกาได้ดีกว่าศิลปินชาวอเมริกันอย่าง Elvis Presley ซึ่งเลือกที่จะอยู่ฝ่ายรัฐบาล นอกจากนั้นแล้วเพลงของ The Beatles สมัยปลายปี 1960s ยังมีเรื่องกบฎการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเสียด้วย อย่างเช่นเพลง "Back in the USSR" และ "Revolution" ซึ่งทําให้ John Birch Society ในสหรัฐต้องออกมาประกาศว่าวง The Beatles นั้นเป็นวง "คอมมิวนิส" ไม่เหมาะสมสําหรับเยาวชน

เมื่อปี 1955
ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ทำให้โลกดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกิดดนตรีรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหวาน ทั้งร้อนแรง โศกเศร้า จริงใจ เปิดเผย ผสมผสานกันด้วยความรุนแรง เร่าร้อน ดุดัน แต่บางขณะกลับอ่อนหวานเกินคาดเดา
Rock 'n' Roll
เมื่อ Bill Haley and his Comets นำเพลง (We're Gonna) Rock Around the Clock ขึ้นอันดับ 1 ในบิลล์บอร์ดชาร์ท เมื่อวันที่ 9 ก.ค.1955 และอยู่ในตำแหน่งนั้นนานถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ก็ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นมา
Chuck Berry, Little Richar, Fats Domino, Bo Diddley, Ray Charles เป็นศิลปินผิวดำที่ร่วมสร้างดนตรีร็อคแอนด์โรลล์ขึ้นมาเมื่อกลางทศวรรษ ที่ 50 ด้วยเพลงร็อคดีๆมากมาย แต่ดูเหมือนร็อคแอนด์โรลล์จะขาดอะไรไปบางอย่าง
จนการมาถึงของหนุ่มนักร้องผิวขาวที่ชื่อ เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) ต้นปี
1956 เอลวิส ในวัย 21 กับเพลง Heartbreak Hotel ที่ขึ้นอันดับ 1 ก็โด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เอลวิสมีเพลงฮิตหลายเพลงในปีนั้นเช่น Blue Suede Shoes, I Want You I Need You I Love You, Hound Dog, Don't Be Cruel, Love Me, Anyway You Want Me และ Love Me Tender ส่งผลให้เขากลายเป็นราชาร็อคแอนด์โรลล์ไปในทันที
Carl Perkins, Jerry Lee Lewis, Buddy Holly, Gene Vincent, The Everly Brothers, Ricky Nelson, Roy Orbison เป็นศิลปินรุ่นต่อมาที่ได้ร่วมสร้างดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ให้แข็งแรงขึ้น
ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกิดจากส่วนผสมของดนตรีหลายอย่างที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น เช่น Country, Gospel, Blues และ Rhythm and Blues แต่ต้องถือว่าเอลวิสเป็นผู้ที่ทำให้ร็อคแอนด์โรลล์โด่งดังและเติบโต มาได้ถึงทุกวันนี้
จนกระทั่ง เมื่อต้นทศวรรษที่ 60 ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เริ่มจะคลอนแคลน เพราะความคลั่งไคล้ในร็อคแอนด์โรลล์ ก่อให้เกิดการเลียนแบบอย่างไร้สาระ ถึงแม้จะมีศิลปินเกิดใหม่มากมาย แต่ก็ไม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง จนกระทั่งหนุ่มชาวอังกฤษ 4 คน ในนามของ The Beatles
British Invasionบริทิช อินเวชั่น (Britiah Invasion) ในปี 1964 ได้ นำรูปลักษณ์ และบทเพลงใหม่ๆ ออกมาทำให้วงการร็อคแอนด์โรลล์เกิดการพัฒนาดนตรีร็อคครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด หลังจากเอลวิส เพรสลีย์ และนักดนตรีชาวอเมริกันหลายคนสร้างขึ้นมา แม้พวกเขาจะเป็นเพียงหนุ่มวัยรุ่น 4 คน ที่เกิดมาในครอบครัวของชนชั้นกรรมาชีพจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แต่เมื่อได้รวมตัวกันในนามของ The Beatles และสร้างผลงานเพลงขึ้นมา พวกเขาก็ไม่ใช่แค่วงดนตรีธรรมดา
เดอะ บีเทิลส์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่ในวงการดนตรี แต่ยังหมายถึง แฟชั่น วัฒนธรรม ศิลปทุกแขนง ไปจนถึงการเมือง อิทธิพลของพวกเขาไม่ใช่แค่ ทรงผม ท่าทาง เสื้อผ้า หรือรองเท้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวความคิด วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนรุ่นใหม่อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
มีวงดนตรีจากอังกฤษเกิดขึ้นมากมายในช่วงเวลาเดียวกับวงเดอะ บีเทิลส์ แต่ที่ได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบันได้แก่ The Rolling Stones, The Kinks และ The Who รวมทั้งที่กลายเป็น ศิลปินเดี่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น Jeff Beck, Steve Winwood, Van Morrison และ Eric Clapton ในขณะที่ British Invasion ได้เป็นผู้นำวงการร็อคแอนด์โรลล์และวงการ พ็อพ (Pop) ดนตรีอเมริกันเจ้าของเพลงร็อคแอนด์โรลล์ ก็ได้นำดนตรี ริธึมแอนด์บลูส์ ( Rythm and Blues) ซึ่งเริ่มพัฒนามาเป็นเพลงร็อคเต็มตัว เช่นเพลงทั้งหมดจาก Motown ที่ ภายหลังถูกเรียกว่า เพลงโซล (Soul) อีกส่วนหนึ่งมาจากดนตรีของ The Beach Boys และที่สำคัญที่สุด มาจากนักร้องนักแต่งเพลงโฟล์คที่ชื่อ Bob Dylan แต่การต่อสู้ที่เข้มข้นบนอันดับเพลงในช่วงนี้ กลับเป็นการพัฒนาดนตรีร็อค ครั้งสำคัญที่สุด ทำให้เพลงร็อคมีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป
ปี 1967 วงการร็อคพัฒนาไปอีกก้าวใหญ่ แม้ว่าช่วงนั้นจะมีปัญหาทางการเมือง มีการเรียกร้องสันติภาพ มีปัญหาการใช้ยาเสพติด แต่กลับทำให้ดนตรีร็อคพัฒนาตัวแทรกเข้าถึงดนตรีประเภทอื่นๆ และย้อนกลับมาเป็นดนตรีร็อคอย่างกลมกลืน ได้เกิดดนตรีแนวBlues-Rock, Folk-Rock, Country-Rock จากการนำของวงดนตรีอย่างเช่น The Byrds, The Cream, The Paul Butterfield Blues Band จากนั้นก็เข้าสู่ยุค Psychedelic จากเพลงของ The Beatles, Jefferson Airplane, The Grateful Dead, The Doors, Pink Floyd, Jimi Hendrix และ Janis Joplin
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาดนตรีร็อคในช่วงนี้ คือ ดนตรีโซล (Soul) จากบริษัทแผ่นเสียง Stax1 ซึ่งได้นำจังหวะเพลงที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง มาผสมผสานกับเพลงร็อคได้อย่างกลมกลืน

ยุค 1970s กระแสของวง Rock จากเกาะอังกฤษได้แพร่หลายโดยมีวงใหม่ๆอย่าง The Who และ Led Zeppelin เกิดขึ้นมาทำให้ตลาดบันเทิงในสหรัฐเต็มไปด้วยศิลปิน Rock จากอังกฤษ สามารถถกล่าวได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้ของวงการเพลงสหรัฐในการตอบสนอง ความต้องการของคนรุ่นใหม่ เหมือนกับจะเป็นข้อเตือนให้เห็นว่า การเหยียดผิว ไม่ยอมรับศิลปินผิวดําของตน หรือการ "White Wash" ศิลปินดังกล่าวโดยใช้ Elvis หรือ Pat Boon นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน และทําให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรุ่นใหม่ กับวงการบันเทิง


Rock, Hard Rock, Heavy Metal, Soft Rock ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา ก็ได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆโดยแนวทางที่ชัดเจนอยู่ 2 อย่างคือ Hard Rock เป็นดนตรีที่หนักหน่วง และ Soft Rock เป็นร็อคที่นุ่มนวลกว่า
Hard Rock, Heavy Metal
ในทางด้านสีสันดนตรีนั้น ทั้ง Heavy Metal และ Hard Rock มีความใกล้เคียง กันมาก จนแทบจะแยกกันไม่ออก โดยทั้งสองแนวนี้จะใช้เสียงในการเล่นที่ดัง เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ จะเป็นกีตาร์ เบส และกลอง บวกกับเสียงร้อง ที่ต้องใช้พลัง มีสิ่งหนึ่งที่พอจะแยกความแตกต่างระหว่าง Heavy Metal กับ Hard Rock คือ ดนตรีในแบบ Hard Rock นั้น จะมีสำเนียงของดนตรีบลูส์ และร็อคแอนด์โรลล์ ผสมผสานกันอยู่ แต่ใน Heavy Metal นั้นมีน้อยมาก
ในช่วงต้นยุคทศวรรษ 70 นั้น Heavy Metal ซึ่งได้เติบโตมาจาก Hard Rock และพัฒนาจนมีความชัดเจน ด้วยการเล่นที่ดุดัน หนักหน่วง ร้อนแรง ผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว ที่ต้องกาารสื่อสารกับคนภายนอก แสดงออกชัดอย่างโจ่งแจ้งทางอารมณ์และความคิด สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ และแหวกขนบธรรมเนียมของสังคม ที่ผ่านมานั้นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวกและ แง่ลบกันอยู่เสมอเกี่ยวกับดนตรี Heavy Metal แต่ก็ยังได้รับ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับ มาเรื่อยๆ
ตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ดนตรี Hard Rock และ Heavy Metal ได้ แตกแขนงออกไปจนมีลักษณะเฉพาะของตัวเองแยกออกไปเป็นชื่อต่างๆ ที่เรียกตาม ลักษณะดนตรี บางครั้งแบ่งตามลักษณะของการแต่งตัว แบ่งตามลักษณะของเนื้อหา ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันได้แก่ Glam Rock, Arena Rock, Boogie Rock, Pop- Metal, British Metal, Thrash, Neo-Classic Metal, Speed Metal, Death Metal, Guitar Virtuoso, Progressive Metal, Punk Rock, Rap Rock. Soft Rock

Soft Rock
และอีกแนวเพลงที่เกิดขึ้นในตอนต้นของปี 1970 มีลักษณะเพลงที่เรียบง่าย ทำนองรื่นหู มีความสวยงาม อ่อนโยน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังทั่วไป ศิลปินที่ มีชื่อเสียงได้แก่ The Carpenters, Bread, Carole King, The Eagles, Elton John และ Chicago ซึ่งสร้างผลงาน ดนตรีที่มีความเรียบง่ายแต่มีความไพเราะและกลายเป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา กลายเป็นจุดเริ่มต้นของงาน ที่ให้ความสำคัญกับความอ่อนหวานในบทเพลง
ตลอดทศวรรษที่ 70 ดนตรีร็อคได้มีการพัฒนาและแตกแขนงกลายเป็นดนตรีอีกหลาย แนว โดยมีชื่อเรียกต่างกันออกไป ได้แก่ Pop Rock, Pop Dance, Dance, Easy Listening, Folk Rock, Jazz Rock , Disco และอื่นๆ
ปัจจุบันดนตรี Rock ได้วางรากฐานไว้ในดนตรีแทบทุกประเภท โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดนตรี ร็อคยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และคงยังได้รับความนิยมอยู่เสมอมา
ดังคำกล่าวของ วงโรลลิ่งสโตนว่า "ก็แค่ร็อค แต่ก็ชอบนะ"

วิวัฒนาการของร็อกและแนวย่อยที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาต่างๆ โดยสรุป ดังนี้

กลางยุค 50
ร็อกแอนด์โรล เช่น เอลวิส เพรสลีย์ ,เจอร์รี ลี ลีวิส เป็นต้น


กลางยุค 50 - ต้นยุค 60
British rock ยุค 60
garage rock ยุค 60
Surf music ยุค 60


1963 - 1974
Folk rock
Psychedelic rock
Progressive rock
Soft rock
Hard Rock
Glam Rock
Heavy Metal


กลางถึงปลายยุค 70
Progressive rock
Progressive Metal
Arena Rock
Punk rock
New Wave
Post Punk


ยุค 80s
Glam metal
Instrumental rock
Gothic
Alternative music และ กระแสเพลงอินดี้


ต้นถึงกลางยุค 90 Alternative เข้าสู่กระแสหลัก
Grunge เช่น Nirvana
Modern rock
Britpop เช่น Oasis , Blur , ทราวิส
Indie rock
Stoner rock เช่น Queens of the Stone Age


1994-1999
Pop punk เช่น Simple Plan, Sum41, Blink182
Post-grunge เช่น Foo Fighters, Everclear
Rapcore และ Nu metal เช่น วง Limp Bizkit, Korn, Linkin Park
Hardcore เช่น วง Hatebreed


2000-ปัจจุบัน
Garage rock revival เช่น Jet
Post-punk revival เช่น Good Charlotte
Metalcore เช่น วง Norma Jean
Emo เช่น วง Story Of The Year ,Funeral For a Friend
Screamo เช่น วง Underoath , Saosin, The Used


วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดนตรีแจ็ส Jazz

ประวัติความเป็นมาของแจ๊ส

ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชี่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อาฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro - American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา

อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรีมีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่สามารถอนุมานได้ว่าดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่าแหล่งอื่น ๆ ก็คือ การใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึงอยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น

ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับ ซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถม อัฟริกาตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง

ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีน หลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกา ก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ

เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน ีลีลาที่พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำนี้เรียกว่า " เพลงบูลส์ " (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพลงแจ๊ส

ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊สใน ยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน

พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส

นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง

ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสาน

สรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของ อเมริกันเองและดนตรีจากยุโรป จากแรกไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยมีกำเนิดที่เมืองนิวออร์ลีน แจ๊สยุคนี้เรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊ส คือ การบรรเลงแบบอิมโพรไวเซชั่น จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การ ประสานเสียง แปลก ๆ ทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นชัด แจ๊สมีการพัฒนาเรื่อยมาจากยุคแรกทำ ให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่างๆ

องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส (Elements of Jazz)

วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้

องค์ประกอบของดนตรีแจ๊สที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปเป็นองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส ในช่วง 1900 ถึง 1950 เนื่องจากดนตรีแจ๊สมีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายประเภท


สีสัน (Tone color)

ลักษณะโดยทั่วไปดนตรีแจ๊สเป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 3-8 คน ที่เรามักเรียกว่า " วงคอมโป " (Combo) หรือเรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) ซึ่งประกอบนักดนตรีประมาณ 10-15 คน โครงสร้างสำคัญของการบรรเลงคือกลุ่มเครื่องดำเนินจังหวะ (Rhythm section) ซึ่งเล่นจังหวะในลักษณะเดียวกับเบสโซ คอนตินิวโอ (Basso continuo) ในดนตรียุค บาโรค ในส่วนนี้มักบรรเลงด้วย เปียโน เบส และเครื่องตี บางครั้งอาจมี แบนโจ หรือกีตาร์ด้วย เครื่องดำเนินจังหวะเหล่านี้ช่วยทำให้การประสานเสียงน่าสนใจขึ้นด้วย ดนตรีแจ๊สยุคใหม่ผู้บรรเลงเครื่องทำจังหวะมักใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดเสียงเป็นลักษณะอื่น ๆ เช่น การเคาะไม้กลอง , การตีฉาบ , การใช้แส้ในการตีกลอง และการใช้มือทำให้เกิดเสียง

เครื่องดำเนินทำนองหรือเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเดียวที่แสดงความสามารถของผู้บรรเลง มักประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Wood winds) และเครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น คอร์เน็ต , ทรัมเป็ต , แซกโซโฟนทั้ง 4 ชนิด คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และบาริโทนแซกโซโฟน , คลาริเนท , ไวบราโฟน , ทรอมโบน และเปียโน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองยังสามารถใช้มิ้ว (Mute) ทำให้เกิดเสียงอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสีสันของเสียงต่าง ๆ ออกไปอีก แนวการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้ของผู้บรรเลงแต่ละคนมักมีสีสันเฉพาะตัว ทำให้ผู้ฟังเพลงประเภทแจ๊สทราบว่าเพลงที่ฟังนั้นใครเป็นผู้บรรเลง ซึ่งต่างไปจากดนตรีคลาสสิกที่ผู้บรรเลง พยายามบรรเลงให้ตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์หรือตรงตามโน้ตที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นการ แยกเสียงทรัมเป็ตของผู้บรรเลงเพลงเดียวกันสองคนในการบรรเลงเพลงแจ๊ส จะง่ายกว่า การบอก ความแตกต่างว่าใครบรรเลงทรัมเป็ตเพลงเดียวกันระหว่างผู้บรรเลงสองคนที่บรรเลงเพลงคลาสสิก

อิมโพรไวเซชั่น (Improvisation)

ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของดนตรีแจ๊สคือการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น หรือ เรียกแบบไทย ๆ ว่า " การด้นสด " หมายถึงการคิดท่วงทำนอง จังหวะ หรือการประสานเสียงใน ขณะบรรเลงอย่างไรก็ตามดนตรีแจ๊สมิได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์แบบอิมโพไวเซชั่นทั้งหมด แต่ ดนตรีมักประกอบด้วยการบรรเลงจากการประพันธ์กับการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสด อย่างไรก็ ตามการอิมโพรไวเซชั่นจัดเป็นเอกลักษณ์และหัวใจสำคัญของการบรรเลงดนตรีแจ๊ส

ปกติการอิมโพรไวเซชั่นเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงดนตรีแปรเปลี่ยนทำนองหลักไป ฉะนั้นรูปแบบของการบรรเลงจึงเป็นธีม (Theme) หรือทำนองหลักและการแวริเอชั่น (Variation) หรือการแปรทำนอง บางครั้งการแปรเปลี่ยนทำนองอาจเป็นการบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีเดี่ยวสองหรือสามชิ้น แต่ละตอนของการแปรเปลี่ยนทำนองและทำนองหลักมีชื่อเรียกว่า " คอรัส " (chorus) ดังนั้นเพลงนั้นอาจมี 4-6 ตอน หรือ 4-6 คอรัส เป็นต้น โดยตอนแรกเป็นการเสนอทำนองหลัก ดังตัวอย่าง .. Chorus 1 (32 bars) Theme

Chorus 2 (32 bars) Variation 1
Chorus 3 (32 bars) Variation 2
Chorus 4 (32 bars) Variation 3



จังหวะ ทำนอง และเสียงประสาน (Rhythm, Melody, and Harmony)

ลักษณะเด่นของจังหวะในดนตรีแจ๊ส คือ จังหวะขัด (Syncopation) และจังหวะสวิง สวิงเกิดจากการบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบาหรือลอยความมีพลังแต่ผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะสม่ำเสมอ โดยปกติเครื่องตี เช่น กลอง ฉาบ และเบส บรรเลงจังหวะตบ อัตราจังหวะของเพลงแจ๊สมักเป็นกลุ่ม 4 จังหวะ คือ 4/4 แต่จังหวะเน้นแทนที่จะลงที่จังหวะ 1 และ 3 กลับลงที่จังหวะที่ 2 และ 4 ส่วนจังหวะขัดลงหนักระหว่างจังหวะตบทั้งสี่นอกจากนี้การบรรเลง จริง ๆ มักมีการยืดค่าตัวโน้ต ไม่ได้ลงจังหวะตามที่เขียนเป็นโน้ตดนตรีเสียทีเดียว เช่น โน้ตที่บันทึกเป็น

การบันทึกโน้ตดนตรีแจ๊สให้ถูกต้องจริง ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากการบรรเลงแต่ละครั้งต้องใช้ความรู้สึก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ฟังดนตรีแจ๊สได้รับความรู้สึกนั้นไปด้วยและอยากที่จะเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะของดนตรีี ทำนองเพลงก็เช่นเดียวกันกับจังหวะ มักมีการร้องให้เพี้ยนไปจากเสียงที่ควรจะเป็นตามบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ที่แจ๊สใช้อยู่ เสียงเพี้ยนมักต่ำกว่าเสียงที่ควรจะเป็น ปกติมักเกิดขึ้นในเสียงตำแหน่งที่ 3 ,5 และ 7 ของบันไดเสียง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า " เบนท์หรือบลูส์โน้ต " (bent or blue note) สำหรับเรื่องเสียงประสานแม้จะใช้หลักการตามดนตรีคลาสสิก แต่ได้มีการพัฒนาการสร้างคอร์ดแปลก ๆ การจัดเรียงของคอร์ดตามแนวทางของดนตรีแจ๊ส ทำให้การประสานเสียงของดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ลักษณะของดนตรีแจ๊สหลัง 1950 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาไปของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ดนตรีแจ๊ส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจังหวะ การประสานเสียง รูปแบบและสีสัน เช่น มีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาผสมวง เช่น ฟลูท ฮอร์น เชลโล การใช้เสียงอีเลคโทรนิค เปียโนไฟฟ้า เกิดรูปแบบดนตรีแจ๊สใหม่ขึ้น เช่น ฟรีแจ๊ส แจ๊สร็อค หรือฟิวชั่นและคลูแจ๊ส
อย่างไรก็ตามไม่ว่ารูปแบบแจ๊สใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดนตรีแจ๊สในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ดิกซีแลนด์ บีบอบ บลูส์ ก็ยังอยู่และเป็นที่นิยมของผู้ฟังไม่เสื่อมคลาย

แจ๊สญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่บริโภคดนตรีแจ๊สมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ในญี่ปุ่นมีคลับแจ๊สดังๆ เหมือนอเมริกา มีนักดนตรีแจ๊สหมุนเวียนมาเล่น หรือจัดคอนเสิร์ตตามหัวเมืองใหญ่ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง หลังๆ นักดนตรีแจ๊สฝั่งอเมริกาและยุโรปข้ามฝั่งมาหากินในญี่ปุ่นมากขึ้น เช่น บ็อบ เจมส์ (Bob James) ก็เคยทำงานดนตรีร่วมกับ เคโกะ มัตสุอิ (Keiko Masui) นักเปียโนชื่อดังของญี่ปุ่น .. ดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นได้รับการถ่ายทอดมาจากอเมริกาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1920 จนมาสะดุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเพราะทางการสั่งห้ามดนตรีแจ๊ส (และดนตรีตะวันตก) .. แจ๊สในญี่ปุ่นกลับมาอีกครั้งก็เป็นยุคบ็อพซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก รวมถึงแขนงต่างๆ ของบ็อพด้วย

ดนตรีแจ๊สในญี่ปุ่นเวลานี้เป็นยุคของฟิวชัน อาจเพราะเหตุผลว่าติดหูได้ง่ายและสนุกสนาน .. อย่างไรก็ตาม สุ้มเสียงฟิวชันของญี่ปุ่นมีกลิ่นไอความเป็นเอเซียผสมอยู่ไม่น้อย รวมถึงสัมผัสของเจ-ร็อก (J-Rock) ก็มีปรากฏในดนตรีฟิวชันญี่ปุ่นเช่นกัน ขนาดที่ว่าใช้ 'สแตร็ต' กรีดแทน ตระกูล ES หรือ เลส พอล ก็เคยเห็นมาแล้ว ซึ่งไม่ผิดธรรมเนียมอะไร เพียงแต่มันบ่งบอกบุคลิกเพลงได้เหมือนกัน ด้วยเหตุดังกล่าวดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในทำนองเดียวกับ เจ-ป๊อป และ เจ-ร็อก ... วงดนตรีแจ๊สญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงได้แก่ แคสิโอเปีย (Casiopea) ที-สแควร์ (T-Square) และ จิมซาคุ (Jimsaku) เป็นสามหัวหอกหลัก ระยะหลังทั้งสามวงออกทัวร์ต่างประเทศบ่อยครั้ง ร่วมงานกับนักดนตรีตะวันตกหลายคน

แจ๊สในไทย

ดนตรีแจ๊สในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในกลุ่มวัยรุ่น (a.k.a. เด็กแนว) นักดนตรีจึงมีไม่มาก ยิ่งนักร้องแจ๊สแท้ๆ ในเมืองไทย แทบไม่เหลือเลย .. นักดนตรีแจ๊สในไทยก็มีเพียงสายฟิวชัน เริ่มต้นจาก อินฟินิตี้ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร ภูษิต ไล้ทอง ที-โบน กลุ่มนี้หาเพลงฟังได้ยากแล้ว ส่วนที่สดใหม่ก็จะมี โก้-เศกพล อุ่นสำราญ ซึ่งเคยฝึกกับอินฟินิตี้ และเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งวงบอยไทย ก่อนจะออกอัลบั้มของตัวเอง ที่ได้ยินอีกคนคือ ดร.กะทิ-สิราภรณ์ มันตาภรณ์ นักกีตาร์แจ๊สแนวละตินฝีมือดี

แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่สนใจดนตรีแนวนี้ จริงๆ มีผู้ฟังคนไทยอยู่กลุ่มใหญ่ทีเดียวที่ชื่นชอบดนตรีแจ๊ส สังเกตได้จากงานคอนเสิร์ตแจ๊ส และขาประจำผับแจ๊สในกรุง และขาประจำห้องแจ๊สใน pantip.com โดยส่วนใหญ่มักนิยมฟิวชัน ละติน ฟังก์ ซึ่งฟังง่ายกว่า จะมีที่ฟังบ็อพหรือสแตนดาร์ด

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วงดนตรีสากลในปัจจุบัน

วงดนตรีสากล

แบ่งตามลักษณะการรวมวงที่เห็นได้ชัดเจน ดังนี้

วงซิมโฟนี (Symphony Orchestra) เป็นวงดนตรีสากลขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีสากล 4 กลุ่ม ประเภทของเครื่องดนตรีสากล ได้แก่
  1. กลุ่มเครื่องสาย
  2. กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง
  3. กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้
  4. กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ
วงดนตรีลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการบรรเลง จะนั่งหรือยืนบรรเลงตามลักษณะของเครื่องดนตรี

วงสติรงคอมโบ (String Combo)
เป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประมาณ 4 – 5 ชิ้น กล่าวคือ มี
  1. กีตาร์ลีด
  2. กีตาร์เบส
  3. ออร์แกนหรือคีย์บอร์ด
  4. กลองชุด
นิยมแพร่หลายในหมู่ของวัยรุ่นที่นิยมเล่นเพลงป๊อปทั่ว ๆ ไป

วงโยธวาทิต (Military Band)
เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. เครื่องเป่าลมไม้
  2. เครื่องเป่าทองเหลือง
  3. เครื่องประกอบจังหวะ

นิยมใช้เดินขบวนสวนสนาม และบรรเลงประกอบพิธีการต่าง ๆ ตามโอกาส

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบัน การดูแลรักษา

เครื่องดนตรีสากลในสมัยใหม่ แบ่งตามหลักในการทำเสียงหรือวิธีการบรรเลงเป็น 5 ประเภท 
 ดังนี้

1.เครื่องสาย
เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ

1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป
2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา


2.เครื่องเป่าลมไม้
เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท คือ

1) จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลูต

2) จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน


3.เครื่องเป่าโลหะ เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมให้ผ่านริมฝีปากไปปะทะกับช่องที่เป่า ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน เป็นต้น


4.เครื่องประเภทลิ่มนิ้ว(คีย์บอร์ด) เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดียน คีย์บอร์ดไฟฟ้า อิเล็กโทน

5.เครื่องตี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) เครื่องตีที่ทำทำนอง ได้แก่ ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
2) เครื่องตีที่ทำจังหวะ ได้แก่ ทิมปานี กลองใหญ่ กลองแตร็ก ทอมบา
กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากลมีหลายประเภท ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน การดูแลรักษามีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1.เครื่องสาย

ก่อนหรือหลังการเล่น ให้ใช้ผ้าแห้งลูบเบาๆ บนสายและตัวเครื่อง เพ่อขจัดฝุ่นคราบไคลต่างๆ
ถ้าเป็นเครื่องสายที่ใช้คันชักสี เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องปรับคันชักไม่ให้สายตึงเกินไป ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องเพราะหากปล่อยให้สายตึงเป็นเวลานาน อาจชำรุดได้

2.เครื่องเป่าลมไม้

ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องก่อนและหลังการเป่า ส่วนเครื่องเป่าที่เป็นโลหะ ให้ใช้ผ้านุ่มและแตะน้ำมันที่สำหรับทำความสะอาดเครื่องดนตรี แล้วลูบไปตามกระเดื่องกลไกและตัวเคลื่อนให้ทั่ว เพื่อทำให้กระเดื่องกลไกเกิดความคล่องตัวในการใช้งาน และช่วยไม่ให้เกิดสนิม

3.เครื่องเป่าลมทองเหลือง

ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้กดกระเดื่องสำหรับไล่น้ำลายแล้วเป่าลมแรงๆ เข้าไปตรงปากเป่าเพื่อไล่หยดน้ำลายที่ค้างอยู่ในท่อ เสร็จแล้วถอดปากเป่าออกมาทำความสะอาด โดยใช้ผ้าเช็ดและใช้เศษผ้าแตะครีมขัดโลหะลูบเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย

4. เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว

ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าแห้ง เช็ดถูที่ตัวเครื่องและบริเวณลิ่มนิ้วให้สะอาด ปิดฝาครอบแล้วใช้ผ้าคลุมให้เรียบร้อย




อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาสตร์ดนตรีสากล10)

สมัยศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน

หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนา อย่างต่เนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้า ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือแม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น

ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลอง สิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยัง มีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “ อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง

ลักษณะของบทเพลง

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่ม ใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของ เสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียง ความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง


มีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น 4 ประเภท

1. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน บาลาไลกา สืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.1600-1750 นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพสูง


2. เครื่องเป่าลมไม้ - Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) หีบเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวงหรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้

3. เครื่องเป่าทองเหลือง - Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะคล้ายทรัมเป็ตมานานกว่า 4,000 ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ตเป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ

4. เครื่องกระทบ - Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง 2 ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วย


อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล9)

สมัยอิมเพรสชันนิส Impressionist

ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890-1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของสมัยโรแมนติก ได้มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบุสชีผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกก่อให้เกิดความประทับใจ และแตกต่างจากดนตรีโรแมนติกซึ่งก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์

ลักษณะทั่ว ๆไปของดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกนั้นเต็มไปด้วยจินตนาการที่เฟื่องฝัน อารมณ์ที่ล่องลอยอย่างสงบ และความนิ่มนวลละมุนละไมในลีลา ผู้ฟังจะรู้สึกเสมือนว่าได้สัมผัสกับบรรยากาศตอนรุ่งสางในกลุ่มหมอกที่มีแสงแดดอ่อน ๆ สลัว ๆ ถ้าจะกล่าวถึงในด้านเทคนิคดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไปกลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง ( ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “ โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)

นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆ และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เพลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “ คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ“ คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร เดอบุสชี ได้กล่าวถึงลักษณะดนตรีสไตล์อิมเพรสชั่นนิสติกไว้ว่า…"สำหรับดนตรีนั้น ข้าพเจ้าใคร่จะให้มีอิสระ ปราศจากขอบเขตใด ๆ เพราะในสไตล์นี้ดนตรีก้าวไปไกลกว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ"

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล8)

สมัยโรมันติค Romantic

ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity) นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้

  • คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ
  • ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ

สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง

ลักษณะของดนตรีโรแมนติก

  1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
  2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
  3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
  4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
  5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล7)


สมัยคลาสสิค Classic

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่ชาวยุโรปส่วนใหญ่มีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมากก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค. ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี ( ค. ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค. ศ. 1814 สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason หลังการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูปแบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780 เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัยคลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้

ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยมการสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนองหลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสานลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนาโรงเรียนแมนฮีมจัดตั้งขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive ( เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว- ช้า- เร็ว เป็น เร็ว – ช้า – minuet – เร็ว(minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ ) ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )

สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการ ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไปเพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง ดนตรีสไตล์เบา ๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่งเครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน (JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของHeavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย

ความหมายของคำว่า “ คลาสสิกซิสซึ่ม” (Classicism)

คำว่า “ คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความหมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่งที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศตวรรษที่ 20

พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลาย ๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็นดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้นมี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายขอศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนปลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้นความวามหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่น ๆ

ลักษณะทั่วไปของดนตรีคลาสสิก

โดยทั่วไปแล้วดนตรีคลาสสิกสามารถตีความหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่น ๆ


สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก

1. ฟอร์ม หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน และยึดถือปฏิบัติมาเป็นธรรมเนียมนิยมอย่างเคร่งครัดเห็นได้จากฟอร์มโซนาตาที่เกิดขึ้นในสมัยคลาสสิก

2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและรัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง(Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony

3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก (Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพลี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ

4. การประสานเสียง (Harmony) นั้น การประสานเสียงของดนตรีสมัยนี้ซับซ้อนน้อยกว่าการประสานเสียงของดนตรีสมัยบาโรก ได้มีการใช้ตรัยแอ็คคอร์ด ซึ่งหมายถึง คอร์ด โทนิด (I) ดอมินันท์ (V) และ ซับโดมินันท์ (IV) มากยิ่งขึ้น และการประสานเสียงแบบเดียโทนิค (Diatonic harmony) ได้รับความนิยมมากกว่าการประสานเสียงแบบโครมาติค (Chromatic harmony)

5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ในสมัยคลาสสิกยังคงมีการใช้อยู่โดยเฉพาะในท่อนพัฒนาของฟอร์มโซนาตาในท่อนใหญ่ การประพันธ์ดนตรีที่ใช้ฟอร์มทางเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ซึ่งเป็นฟอร์มที่มี Counterpoint เป็นวัตถุดิบสำคัญ โดยทั่ว ๆ ไปจะไม่มีอีกแล้วในสมัยนี้

6. การใช้ความดัง - เบา (Dynamics) มีการนำเอาเอฟเฟคของความดัง – เบา มาใช้สร้างเป็นองค์ประกอบของดนตรี เห็นได้จากงานการประพันธ์ของนักประพันธ์หลาย ๆ คน ซึ่งความดัง - เบานั้นมีทั้งการทำเอฟเฟคจากเบาแล้วค่อยเพิ่มความดังขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าเครสเซนโด (Crescendo) และ จากดังแล้วก็ค่อย ๆ ลดลงจนเบาเรียกว่าดิมินูเอ็นโด (Diminuendo)

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล6)



สมัยบาโรก Baroque

มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl) Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว

ส่วนทางด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นที่สุดของดนตรี

บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ. เอส. บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 ในตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและหันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “ เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยทีเดียว หากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)

ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ แมสใน บี ไมเนอร์” ของ เจ. เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้

ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรก คือ

  • การทำให้เกิด “ ความตัดกัน” (Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การบรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ (Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata)
  • ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
  • การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแหน่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี
สัญลักษณ์ในการบันทึกบทเพลง

  • กุญแจซอล
  • กุญแจฟา
  • กุญแจโด อัลโต
  • กุญแจโด เทเนอร์
  • โน้ตสากลต่างๆ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
  • เครื่องหมายกำหนดจังหวะ


ลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้

  1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยวตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
  2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึกเรียกว่า Figured bass
  3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
  4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
  5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี(Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
  7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
  8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
  9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
  10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี