วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วงดนตรีสากลในปัจจุบัน

วงดนตรีสากล

แบ่งตามลักษณะการรวมวงที่เห็นได้ชัดเจน ดังนี้

วงซิมโฟนี (Symphony Orchestra) เป็นวงดนตรีสากลขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีสากล 4 กลุ่ม ประเภทของเครื่องดนตรีสากล ได้แก่
  1. กลุ่มเครื่องสาย
  2. กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง
  3. กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้
  4. กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ
วงดนตรีลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการบรรเลง จะนั่งหรือยืนบรรเลงตามลักษณะของเครื่องดนตรี

วงสติรงคอมโบ (String Combo)
เป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประมาณ 4 – 5 ชิ้น กล่าวคือ มี
  1. กีตาร์ลีด
  2. กีตาร์เบส
  3. ออร์แกนหรือคีย์บอร์ด
  4. กลองชุด
นิยมแพร่หลายในหมู่ของวัยรุ่นที่นิยมเล่นเพลงป๊อปทั่ว ๆ ไป

วงโยธวาทิต (Military Band)
เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. เครื่องเป่าลมไม้
  2. เครื่องเป่าทองเหลือง
  3. เครื่องประกอบจังหวะ

นิยมใช้เดินขบวนสวนสนาม และบรรเลงประกอบพิธีการต่าง ๆ ตามโอกาส

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบัน การดูแลรักษา

เครื่องดนตรีสากลในสมัยใหม่ แบ่งตามหลักในการทำเสียงหรือวิธีการบรรเลงเป็น 5 ประเภท 
 ดังนี้

1.เครื่องสาย
เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ

1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป
2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา


2.เครื่องเป่าลมไม้
เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท คือ

1) จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลูต

2) จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน


3.เครื่องเป่าโลหะ เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมให้ผ่านริมฝีปากไปปะทะกับช่องที่เป่า ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน เป็นต้น


4.เครื่องประเภทลิ่มนิ้ว(คีย์บอร์ด) เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดียน คีย์บอร์ดไฟฟ้า อิเล็กโทน

5.เครื่องตี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) เครื่องตีที่ทำทำนอง ได้แก่ ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
2) เครื่องตีที่ทำจังหวะ ได้แก่ ทิมปานี กลองใหญ่ กลองแตร็ก ทอมบา
กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากลมีหลายประเภท ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน การดูแลรักษามีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1.เครื่องสาย

ก่อนหรือหลังการเล่น ให้ใช้ผ้าแห้งลูบเบาๆ บนสายและตัวเครื่อง เพ่อขจัดฝุ่นคราบไคลต่างๆ
ถ้าเป็นเครื่องสายที่ใช้คันชักสี เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องปรับคันชักไม่ให้สายตึงเกินไป ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องเพราะหากปล่อยให้สายตึงเป็นเวลานาน อาจชำรุดได้

2.เครื่องเป่าลมไม้

ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องก่อนและหลังการเป่า ส่วนเครื่องเป่าที่เป็นโลหะ ให้ใช้ผ้านุ่มและแตะน้ำมันที่สำหรับทำความสะอาดเครื่องดนตรี แล้วลูบไปตามกระเดื่องกลไกและตัวเคลื่อนให้ทั่ว เพื่อทำให้กระเดื่องกลไกเกิดความคล่องตัวในการใช้งาน และช่วยไม่ให้เกิดสนิม

3.เครื่องเป่าลมทองเหลือง

ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้กดกระเดื่องสำหรับไล่น้ำลายแล้วเป่าลมแรงๆ เข้าไปตรงปากเป่าเพื่อไล่หยดน้ำลายที่ค้างอยู่ในท่อ เสร็จแล้วถอดปากเป่าออกมาทำความสะอาด โดยใช้ผ้าเช็ดและใช้เศษผ้าแตะครีมขัดโลหะลูบเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย

4. เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว

ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าแห้ง เช็ดถูที่ตัวเครื่องและบริเวณลิ่มนิ้วให้สะอาด ปิดฝาครอบแล้วใช้ผ้าคลุมให้เรียบร้อย




อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาสตร์ดนตรีสากล10)

สมัยศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน

หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนา อย่างต่เนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้า ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือแม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น

ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลอง สิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยัง มีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “ อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง

ลักษณะของบทเพลง

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่ม ใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของ เสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียง ความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง


มีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น 4 ประเภท

1. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน บาลาไลกา สืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.1600-1750 นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพสูง


2. เครื่องเป่าลมไม้ - Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) หีบเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวงหรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้

3. เครื่องเป่าทองเหลือง - Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะคล้ายทรัมเป็ตมานานกว่า 4,000 ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ตเป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ

4. เครื่องกระทบ - Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง 2 ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วย


อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล9)

สมัยอิมเพรสชันนิส Impressionist

ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890-1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของสมัยโรแมนติก ได้มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบุสชีผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกก่อให้เกิดความประทับใจ และแตกต่างจากดนตรีโรแมนติกซึ่งก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์

ลักษณะทั่ว ๆไปของดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกนั้นเต็มไปด้วยจินตนาการที่เฟื่องฝัน อารมณ์ที่ล่องลอยอย่างสงบ และความนิ่มนวลละมุนละไมในลีลา ผู้ฟังจะรู้สึกเสมือนว่าได้สัมผัสกับบรรยากาศตอนรุ่งสางในกลุ่มหมอกที่มีแสงแดดอ่อน ๆ สลัว ๆ ถ้าจะกล่าวถึงในด้านเทคนิคดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไปกลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง ( ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “ โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)

นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆ และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เพลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “ คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ“ คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร เดอบุสชี ได้กล่าวถึงลักษณะดนตรีสไตล์อิมเพรสชั่นนิสติกไว้ว่า…"สำหรับดนตรีนั้น ข้าพเจ้าใคร่จะให้มีอิสระ ปราศจากขอบเขตใด ๆ เพราะในสไตล์นี้ดนตรีก้าวไปไกลกว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ"

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ดนตรีสากล(ประวัติศาตร์ดนตรีสากล8)

สมัยโรมันติค Romantic

ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity) นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้

  • คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ
  • ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ

สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง

ลักษณะของดนตรีโรแมนติก

  1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
  2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
  3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
  4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
  5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง

อ้างอิง :

โรงเรียนลำปางกัลยาณี